Page 28 - kpi21595
P. 28

แต่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อม (environment) ที่เหมาะสมในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนด้วย

               เพราะไม่เช่นนั้นหากสิ่งที่เรียนในห้องเรียนมีความแตกต่างจากสิ่งที่ปรากฏในสังคมภายนอก อาจสร้างความ
                                                                                               4
               สับสนแก่ผู้เรียนและไม่อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องตามทฤษฎีได้ดังที่ Lev Vygotsky  นักวิชาการ
               ด้านการศึกษาชาวรัสเซียได้กล่าวไว้ ด้านนักวิชาการชาวไทยเองก็เล็งเห็นความสำคัญของเรื่องนี้เช่นกัน อาทิ

               ทิพย์พาพร ตันติสุนทร มองว่าการศึกษาเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอในการสร้างความเป็นพลเมือง ทั้งนี้เพราะ
               การสร้างความเป็นพลเมืองสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การศึกษาในชั้นเรียนจึง

               เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น สถาบันทางสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สถาบันครอบครัว สื่อมวลชน และนักการเมือง
               ผู้นำทางสังคมการเมืองต่างๆล้วนมีความสำคัญในฐานะแบบอย่างของเยาวชนทั้งสิ้น ดังนั้น การส่งเสริม

               การศึกษาสำหรับพลเมืองจะต้องดำเนินการทั้งระดับในทุกระดับ ผ่านกระบวนการที่หลากหลาย โดยเน้น

                                                                                                  5
               หลักการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม การส่งเสริมการลงมือทำ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและไม่ชี้นำ
                       ด้วยเหตุนี้ กระบวนการขัดเกลาทางสังคมและการเมือง (political socialization) จึงมีความสำคัญ

               อย่างยิ่งต่อการส่งเสริมให้ปัจเจกชนมีทัศนคติและพฤติกรรมความเป็นพลเมือง ดังนั้นในส่วนต่อไป ผู้วิจัยจะทำ
               การสำรวจวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขัดเกลาทางสังคมและการเมือง (political socialization)

               ไว้โดยสังเขป


               แนวคิดเรื่องการขัดเกลาทางการเมือง (Political Socialization) และการมีส่วนร่วมทางการเมือง

               (political participation)

                       แนวคิดเรื่องการขัดเกลาทางการเมือง (political socialization) เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่เกิดขึ้นบน
               ความเชื่อว่ามนุษย์เป็นตัวกระทำการ (agent) ที่สำคัญในการสร้างสรรค์ทางสังคมและการเมืองต่างๆ ดังนั้น

               การอบรมสั่งสอน การปลูกฝังความเชื่อ ค่านิยม และทักษะในการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่เหมาะสมให้แก่คน
               ในสังคมจึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการสร้างสรรค์สังคมประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ

                       ความเป็นพลเมืองเป็นคุณลักษณะประการหนึ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์โดยกำเนิด แต่เป็นสิ่งที่

               ประกอบสร้าง (constructed) ขึ้นภายหลังตามความเชื่อของสังคมและระบอบการปกครองของสังคมนั้นๆ
               ด้วยเหตุนี้ การสร้างพลเมืองในชาติให้มีคุณลักษณะเช่นใดจึงหลีกเลี่ยงกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง

               ไม่ได้ โดยสถาบันทางสังคมที่มีผลต่อการสร้างการเรียนรู้ทางการเมืองนั้นมีมากมาย อาทิ สถาบันครอบครัว
               สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สื่อและการสื่อสารมวลชน รวมไปถึงกลุ่มองค์กรที่ผู้นั้นสังกัด เป็นต้น

                       การสร้างการเรียนรู้ทางการเมืองให้เกิดขึ้นนี้ อาจกระทำได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม การขัดเกลา

               ทางตรง มีอาทิ การที่ผู้นั้นได้รับการอบรมสั่งสอนทางการเมืองโดยตรง หรือมีกิจกรรมทางการเมือง มีการ
               ติดต่อกับนักการเมืองโดยตรง เป็นต้น ส่วนการขัดเกลาทางอ้อมนั้น มีอาทิ การติดต่อพูดคุยแลกเปลี่ยน

               ความเห็นกับผู้อื่น การเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น การเรียนรู้จากวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมทาง

               สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การอบรมและการฝึกหัดในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรง แต่เป็นการอบรม


               4  Lev Vygotsky. Continuum Library of Educational Thought. London: Bloomsbury Academic, 2007.
               5  ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. 2557. อ้างแล้ว.

                                                                                                       18
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33