Page 32 - kpi21595
P. 32
ของคนในชุมชนในการคิดวางแผนลงมือทำและเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างสำนึกพลเมืองตระหนักรู้และ
กระตือรือร้นให้เกิดขึ้นจริงและยั่งยืน
การที่สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า กำหนดให้ปฏิบัติการเสริมสร้างพลัง
พลเมืองแบ่งออกเป็น 2 ระยะนั้น ก็เนื่องมากจาก จำนวนประชากรในจังหวัดร้อยเอ็ดนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก
ลำพังเจ้าหน้าที่จากสถาบันพระปกเกล้าไม่สามารถดำเนินการได้ ด้วยเหตุนี้ สำนักส่งเสริมการเมืองภาค
พลเมือง จึงมองว่าการสร้างแกนนำในระดับพื้นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และจากการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
พบว่ากลุ่มคนในระดับจังหวัดนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ตามความใกล้ชิดกับแหล่งความรู้ในที่นี้คือ
สถาบันพระปกเกล้า ดังนี้ กลุ่มแรกคือ แกนนำพลเมืองซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความใกล้ชิดกับคนในชุมชนเป็นกลุ่มที่
สามารถพัฒนาศักยภาพให้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และกระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองสู่คนในชุมชนในระยะ
ที่สองได้ ในที่นี้พบว่าสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง เลือกดำเนินการพัฒนาศักยภาพให้แก่คน 3 กลุ่ม
ประกอบด้วย เยาวชน ครู อาจารย์ และผู้นำในชุมชน ดังตารางด้านล่าง
ตารางที่ 2 กลุ่มเป้าหมายหลักในการพัฒนาขึ้นเป็นแกนนำพลเมือง
1.เยาวชน : 2.คุณครู : 3.ผู้นำในชุมชน :
1.1เยาวชนระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 2.1คุณครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขต 3.1ผู้นำโดยตำแหน่ง คือ ผู้นำ
1.2เยาวชนอาชีวะศึกษา ชั้นปีที่ 1 พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 (ร้อยเอ็ด) ท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น
1.3เยาวชนนอกระบบการศึกษา 2.2คุณครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ 3.3ผู้นำโดยธรรมชาติ คือ ปราชญ์
การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขตที่ 1 เขตที่ 2 และ และผู้มีจิตอาสาในชุมชน
เขตที่3
สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่สองก็คือกลุ่มประชากรในระดับอำเภอนำร่อง ดังที่กล่าวไปแล้วว่า สำนัก
ส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองมีแผนในการขยายผลการสร้างความเป็นพลเมืองในอำเภอนำร่องเพียง 10 แห่ง
ก่อน (จากอำเภอทั้งหมด 20 แห่งในจังหวัดร้อยเอ็ด) โดยจะสร้างแกนนำในระดับพื้นที่เป็นอันดับแรกจากนั้น
จึงผลักดันให้แกนนำเหล่านี้ขยายผลการสร้างสำนึกพลเมืองให้แก่คนในชุมชนต่อไป ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายที่สอง
นี้จึงเป็นกลุ่มประชากรในอำเภอเป้าหมายนั่นเองที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปฏิบัติการเสริมสร้างพลัง
พลเมืองผ่านโครงการ/กิจกรรมต่างๆที่แกนนำพลเมืองดำเนินการในพื้นที่ ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่สามนั้นอยู่ห่าง
จากแหล่งความรู้หรือสถาบันพระปกเกล้าและแกนนำพลเมืองมากที่สุด ในที่นี้ก็คือกลุ่มประชากรที่อยู่นอก
อำเภอเป้าหมาย ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ใช่กลุ่มที่คาดหวังว่าจะได้รับผลกระทบจากปฏิบัติการส่งเสริมความเป็น
พลเมืองของแกนนำพลเมืองในระดับพื้นที่
เพื่อให้เห็นภาพกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 กลุ่มข้างต้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง
จึงได้เปรียบเทียบกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 เป็นเสมือน “ไข่” ที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชั้น คือ ชั้นไข่แดง
ขั้นไข่ขาว และชั้นเปลือกไข่ โดยไข่แดงนั้นเปรียบเสมือนแกนนำพลเมืองที่สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง
จะเป็นผู้เสริมความรู้และพัฒนาศักยภาพให้พวกเขาเหล่านี้กลายเป็นแกนนำพลเมืองในระดับพื้นที่ด้วยตนเอง
ส่วนไข่ขาวและเปลือกไข่นั้นไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่สถาบันพระปกเกล้า โดยสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง
จะลงไปดำเนินการอบรมความรู้และพัฒนาทักษะให้โดยตรง แต่คาดหวังให้แกนนำพลเมือง (กลุ่มไข่แดง) เป็นผู้
22