Page 30 - kpi21595
P. 30

คิด แสดงความเห็นในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น โดยใช้กระบวนการสานเสวนา  (dialogue) จึงอาจเป็นหนทาง

                                                                                                      8
               หนึ่งในการสร้างพลเมืองที่มีความกระตือรือร้นและเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตยได้มากขึ้น
                       จึงกล่าวได้ว่า การขัดเกลาทางการเมืองที่สำคัญคือการเปิดโอกาสให้สมาชิกในสังคมได้มีโอกาสได้เข้า

               มามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นพร้อมๆกับที่ความคิดเห็นที่พวกเขาแสดงออกนั้นต้องได้รับการตอบสนองอย่าง

               เหมาะสม เพื่อสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้น อันจะกระทบต่อการตระหนักถึงศักยภาพของพวกเขาในการมีส่วน
               ร่วมทางการเมือง และสร้างทัศนคติทางการเมืองที่ดีให้เกิดขึ้นได้ว่าการเมืองเป็นเรื่องของการพัฒนาไม่ใช่เรื่อง

               ของการแก่งแย่งแข่งขันกันเพื่ออำนาจ
                       อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ตรงของผู้วิจัยพบว่าการลงพื้นที่เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมือง

               กับประชาชนในช่วงเริ่มแรก โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทนั้น เป็นเรื่องที่ยากพอสมควรที่จะได้รับความคิดเห็นจาก

               พวกเขา อย่างไรก็ตาม การเปิดเวทีเพื่อสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะกลายเป็น
               กระบวนการขัดเกลาความคิดและทัศนคติทางการเมืองที่พวกเขาจะมีต่อตนเองและมีต่อระบบการเมืองต่อไป

               ดังนั้น การอดทนรับฟังความเห็นของพวกเขาโดยไม่ครอบงำในช่วงแรกๆจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อนำไปสู่
               การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับที่สูงขึ้น เพราะการมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นไม่จำเป็นต้องมีเพียงการ

               เลือกตั้งหรือการเดินขวนเพียงอย่างเดียว ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ระบุถึงระดับการมี

               ส่วนร่วมของพลเมืองไว้หลากลาย นับตั้งระดับที่ง่ายที่สุด คือการรับข้อมูล การให้ข้อมูลแก่หน่วยงานภาครัฐ
               และยกระดับการมีส่วนร่วมขึ้นไปสู่การปรึกษาหารือ การวางแผนร่วมกัน การลงมือปฏิบัติ และการควบคุม

                                            9
               องค์กรทางการเมืองโดยประชาชน  จากข้างต้นอาจสรุปกระบวนการของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมได้ 4
               ระดับ คือ 1) การมีส่วนร่วมในคิดริเริ่มและวางแผนโครงการ  2) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ / ดำเนินการ
               หรือการเข้าร่วมกิจกรรม  3) การมีส่วนร่วมในการจัดสรรผลประโยชน์ 4) มีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล

                       จากแนวคิดทฤษฎีเรื่องการส่งเสริมการศึกษาและสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างสำนึกความเป็น
               พลเมืองในการมีส่วนร่วมทางการเมืองข้างต้น สถาบันพระปกเกล้า จึงได้พัฒนาแนวทางการส่งเสริมความเป็น

               พลเมืองในพื้นที่เป้าหมาย โดยเริ่มต้นจากการส่งเสริมการศึกษา ประกอบกับการส่งเสริมให้เกิดปฏิบัติการ

               ระดับพื้นที่ เพื่อสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมือง อันมีลักษณะสอดคล้องกับ
               การขัดเกลาทางการเมืองในรูปแบบหนึ่ง โดยสถาบันพระปกเกล้าแบ่งการส่งเสริมความเป็นพลเมืองเป็น 2

               ระยะ ระยะแรก เป็นการอบรมเพื่อสร้างแกนนำพลเมืองโดยสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบัน
               พระปกเกล้า จากนั้น ระยะที่สอง เป็นการขยายผลการสร้างความเป็นพลเมืองโดยแกนนำพลเมืองที่สถาบัน

               พระปกเกล้า โดยสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองได้สร้างในขึ้นในระยะแรก เพื่อให้สอดคล้องกับทฤษฎีการ

               เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ โดยในระยะนี้ สถาบันพระปกเกล้าจะทำหน้าที่เป็นเพียงพี่เลี้ยงคอยสนับสนุนด้าน
               องค์ความรู้และงบประมาณบางส่วนให้แก่แกนนำพลเมืองเท่านั้น โดยคาดหวังว่าปฏิบัติการของแกนนำ

               พลเมืองในระดับพื้นที่จะสามารถเผยแผ่ความรู้สู่คนในชุมชนผ่านการลงมือปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง กระทั่ง





               8  เดวิด แมทธิวส์. การเมืองเพื่อประชาชน. กรุงเทพฯ: สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, 2552.
               9  บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ ถวิลวดี บุรีกุล. ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2554.

                                                                                                       20
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35