Page 29 - kpi21595
P. 29

คุณลักษณะที่สำคัญของพลเมืองผ่านวิถีชีวิต ซึ่งโดยทั่วไปการขัดเกลาทางการเมืองโดยอ้อมนั้นเป็นสิ่งที่ผู้คนใน

               สังคมประสบพบเจอมากกว่า
                       เชื่อกันว่าการขัดเกลาทางการเมืองจะสร้างให้ผู้คนในสังคมมีความคิดและพฤติกรรมสอดคล้องกับ

               เป้าหมายของการขัดเกลานั้นได้ ทำให้เรื่องการเรียนรู้ทางการเมืองเป็นสิ่งที่ได้รับการกล่าวถึงกันมานานตั้งแต่

               สมัยกรีก ในยุคของนักปรัชญาคนสำคัญอย่างเพลโต (Plato) ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาในงาน
               เรื่อง Republic ซึ่งกล่าวถึงการให้การศึกษาอย่างเข้มงวดแก่ชนชั้นปกครองให้เข้าถึงความเที่ยงธรรม เพราะ

               ความเที่ยงธรรมของผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการยอมรับผู้ปกครองของพลเมือง ด้านพลเมืองเองก็
               พึงได้รับการศึกษาเช่นกันเพื่อให้สามารถทำหน้าที่ของตนได้เป็นอย่างดี โดยการเรียนรู้เพื่อร่วมกันธำรงไว้ซึ่งรัฐ

               ที่เที่ยงธรรมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งต่อการธำรงรักษารัฐให้คงอยู่ อาทิ การที่พลเมืองในนครรัฐต้องเรียนรู้การเป็น

               ชาวกรีกร่วมกัน การเรียนรู้ว่าความแตกต่างระหว่างพวกตนสามารถปรองดองกันได้ การเรียนรู้ที่จะ
                                                                       6
               ประนีประนอมเมื่อเกิดความขัดแย้งกัน ไม่กดกันลงเป็นทาส เป็นต้น
                       การขัดเกลาทางการเมือง จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมพลเมือง สำหรับแนวคิดเรื่อง
               วัฒนธรรมพลเมือง (civic culture) นั้นเป็นแนวคิดที่ แกรเบียล อัลมอนด์ และ ซิดนี เวอร์บา เป็นผู้เสนอไว้

               โดยเขาชี้ให้เห็นว่าคนในสังคมนั้นมีวัฒธรรมทางการเมืองที่หลากหลาย ประกอบด้วย วัฒนธรรมแบบคับแคบ

               วัฒนธรรมแบบไพร่ฟ้า และวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม ซึ่งสำหรับอัลมอนด์และเวอร์บาแล้วเขามองว่าการเมือง
               การปกครองที่มีเสถียรภาพนั้นจะต้องมีสัดส่วนของประชากรที่มีวัฒนธรรมที่ผสมผสานกันทั้งสามวัฒนธรรม

               อย่างเหมาะสม ในที่นี้กล่าวคือไม่ใช่เป็นพลเมืองที่ไม่ยอมรับฟังความเห็นของผู้ใดหรือว่าไม่มีความกระตือรือร้น

               ที่จะตั้งคำถามทางการเมืองใดๆเลยและยอมรับแต่การใช้อำนาจของรัฐเท่านั้น วัฒนธรรมพลเมืองที่พึง
               ปรารถนานั้น พลเมืองจะต้องมีวัฒนธรรมกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะต่างๆทางการเมือง

               แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องพร้อมที่จะประนีประนอมและรับฟังความเห็นของรัฐและความต้องการของคนส่วน
               ใหญ่ ใช้เหตุผลในการเจรจาเพื่อค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสังคมด้วย ซึ่งเรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้จากการขัดเกลาทาง

                                                                    7
               การเมืองผ่านกลไกทางสังคมทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
                       อย่างไรก็ตาม งานเรื่องการเมืองภาคพลเมือง ของ เดวิด แมทธิวส์ ให้ข้อคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเข้า
               มามีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองแห่งรัฐว่า พลเมืองจะมีความกระตือรือร้นทางการเมืองเพียงใดส่วนหนึ่ง

               เป็นเพราะการรับรู้และประเมินว่าพวกเขามีส่วนในการตัดสินใจทางการเมืองได้มากเพียงใด ดังนั้น เดวิด
               แมทธิวส์ จึงเสนอว่าการสร้างความกระตือรือร้นให้แก่พลเมืองต้องเริ่มจากการสร้างความมั่นใจให้แก่พลเมือง

               ว่าพวกเขามีความสามารถและมีอำนาจในการสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ แมทธิวส์ กล่าวว่า ความสำเร็จหรือ

               ผลลัพธ์สุดท้ายไม่สำคัญเท่ากับโอกาสที่จะมีความสำเร็จ ดังนั้น การเปิดโอกาสให้พลเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วม








               6  วีระ สมบูรณ์. ทฤษฎีการเมืองกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ:ภาพพิมพ์, 2561. หน้า 143-148.
               7  พฤทธิสาณ ชุมชน, ม.ร.ว.  ระบบการเมือง: ความรู้เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. พิมพ์ครั้งที่ 8. หน้า
               65-125.

                                                                                                       19
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34