Page 31 - kpi21595
P. 31
สามารถสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้เกิดขึ้นในชุมชนได้ ซึ่งสิ่งนี้จะโอบล้อมและสร้างการ
เปลี่ยนแปลงสำนึกและพฤติกรรมความเป็นพลเมืองให้แก่คนในชุมชนได้ในระยะยาว
ในส่วนของเนื้อหาและกระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองนั้น สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง
สถาบันพระปกเกล้า ได้ดัดแปลงมาจากแนวทางการส่งเสริมสำนึกพลเมืองของ Center for Civic Education
ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมุ่งเน้นการถ่ายทอดทั้งความรู้ (knowledge) พัฒนาทักษะ (skill) และสร้างเจตคติ
(attitude/disposition) ที่เหมาะสมให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม โดยในส่วนของเนื้อหาที่สำนักส่งเสริมการเมือง
ภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จะถ่ายทอดให้แก่แกนนำในระดับพื้นที่และคาดหวังว่าแกนนำพลเมืองใน
ระดับพื้นที่จะสามารถขยายผลต่อไปสู่คนในชุมชนนั้นประกอบด้วยองค์ความรู้เรื่อง (knowledge) หลักการ
ของการปกครองประชาธิปไตยเบื้องต้น รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม วิธีการมี
ส่วนร่วมของพลเมือง ความหมายและความสำคัญของพลเมืองต่อระบอบประชาธิปไตย คุณลักษณะและ
จริยธรรมเบื้องต้นของพลเมือง การยึดหลักสันติวิธีในการแก้ไขปัญหา รวมไปถึงให้ทักษะที่สำคัญต่ อาทิ การ
จัดทำข้อเสนอนโยบายสาธารณะ เป็นต้น
ด้านทักษะ (skill) สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองจะพยายามพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่างๆที่
พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยพึงมีให้แก่แกนนำพลเมืงอ อาทิ ทักษะการสื่อสาร การจัดการความขัดแย้งโดย
ใช้ฉันทมติ การตัดสินใจ การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน การเป็นวิทยากรกระบวนการ การนำเสนอในที่
สาธารณะ การเขียนโครงการและบุคลิกภาพผู้นำ เป็นต้น
ส่วนวิธีการ (tools) ที่สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองเลือกใช้ ประกอบด้วย วิธีการหลากหลาย
อาทิ การจัดอบรม (training) สัมมนา (seminar) การอภิปราย (discussion) การฝึกปฏิบัติ (practice) และ
การเปิดเวที/พื้นที่ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการได้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน
ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดปฏิบัติการสร้างความเป็นพลเมืองโดยแกนนำพลเมืองภายหลังจากรับการอบรม
โดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าสู่คนในพื้นที่ต่อไป ซึ่งทั้งหมดนี้ตั้งอยู่บนหลักการมีส่วนร่วมของผู้อบรมและ
ยึดหลักความต้องการของคนในพื้นที่เป็นสำคัญ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงสำนึกความเป็นพลเมืองเกิดจากภายใน
(inside-out) ที่เล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญของการมีส่วนร่วม พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติด้วยความตั้งใจ
เต็มใจอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการสร้างความเป็นพลเมืองสู่แกนนำพลเมืองในระยะแรกนั้น สำนักส่งเสริมการเมืองภาค
พลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จะผลักดันผ่านโครงการ/กิจกรรมต่างๆของสถาบันพระปกเกล้า ประกอบด้วย
โครงการโรงเรียนพลเมือง โครงการเยาวชนไทยหัวใจพลเมือง โครงการสร้างสำนึกพลเมือง โครงการชุมชน
ไร้ถัง โครงการซื่อตรง และโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำ แต่เป็นไปโดยคำนึงถึงหลักการมีส่วนร่วมและ
ดำเนินการให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่เป็นสำคัญ ในส่วนของการสร้างความเป็นพลเมืองสู่คนใน
ชุมชนระยะที่สองนั้น สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จะผลักดันให้แกนนำพลเมืองที่
ได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเองในพื้นที่ โดยแกน
นำพลเมืองเหล่านั้นอาจเลือกดำเนินโครงการตามที่ตนได้รับการอบรมจากสถาบันพระปกเกล้าก็ได้ หรือจะ
เลือกดำเนินโครงการ/กิจกรรมอื่นที่พื้นที่เห็นว่ามีความเหมาะสมก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญคือการมีส่วนร่วม
21