Page 151 - 21736_Fulltext
P. 151

130



                       เพื่อให้เด็กเกิดการตกลงกันภายใต้ข้อกำหนด เพื่อให้ยุติเรื่องราวต่างๆ เพราะเด็กจะคุยกันได้ง่ายกว่า
                       ผู้ปกครอง เรื่องราวที่ยืดเยื้อนั้นเพราะมันเลยไปถึงผู้ปกครอง แล้วผู้ปกครองไม่ยอมกัน

                       ถาม:   สถานการณ์ความขัดแย้งในช่วงก่อตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ย กับหลังก่อตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ย มีแนวโน้ม
                       เรื่องความขัดแย้งอย่างไร

                       ผู้บริหาร:

                              เมื่อเริ่มก่อตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ย ขึ้นใหม่ๆ นั้น ได้มีการทะเลาะวิวาทระหว่างเด็กนักเรียน เราจึง
                       ให้นักเรียนที่ทะเลาะกันเลือกว่าจะเข้ากระบวนการไกล่เกลี่ยหรือไม่ ถ้าเข้ากระบวนการไกล่เกลี่ยก็จะ

                       ไม่ต้องผ่านฝ่ายปกครอง คือ โดยปกติแล้วถ้ามีเรื่องเกิดขึ้นจะต้องแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษา แจ้งหัวหน้า
                       ระดับ และเชิญผู้ปกครองเข้ามาเพื่อไต่สวน หาวคามผิด และแก้ไขปัญหากัน แต่ถ้านักเรียนที่เป็น

                       คู่กรณีกันยินยอมเข้ากระบวนการไกล่เกลี่ย ก็จะเข้าไปยังศูนย์ไกล่เกลี่ย โดยมีฝ่ายปกครองคอยหนุน

                       หรือ คอยกำราบบ้าง คือ ต้องมีการขู่กันในช่วงแรก ๆ บ้างว่า ถ้าไม่เข้าก็เป็นเรื่อง เขาก็จะยอมเข้ากัน
                       ในระยะหลังนั้นเด็กเกิดการพัฒนาขึ้น ทำให้กระบวนการชัดเจนขึ้น และเด็กสามารถทำการไกล่เกลี่ย

                       ได้ดี โดยทางฝ่ายปกครองไม่ต้องเข้าไปมีบทบาทอะไรมาก พอเกิดเรื่องเด็กก็จะเข้ากระบวนการไกล่

                       เกลี่ยกันเองโดยไม่ต้องผ่านฝ่ายปกครอง
                       ประธานสภานักเรียน:

                              เนื่องจากเกิดปัญหาทะเลาะวิวาทภายในโรงเรียนที่มีความรุนแรงเนื่องจากนักเรียนไม่ยอมกัน
                       แต่เมื่อมีการตัดคะแนนความประพฤติเข้ามานั้น ทำให้นักเรียนไม่กล้าทำผิดระเบียบ แรกเริ่มนักเรียน

                       ไม่ค่อยเชื่อ แต่การตัดคะแนนความประพฤตินั้นใช้ได้ผลเมื่อทำให้นักเรียนไม่จบการศึกษา ซึ่งมี

                       นักเรียนที่มีลักษณะที่จะไม่ผ่านถึง 600 คน จากนักเรียนที่จบไปแล้วนั้นได้คะแนนความประพฤติใน
                       ระดับ “พอใช้” หรือ “ปานกลาง” เมื่อจบออกไปก็เป็นสิ่งที่ไม่ดี และเมื่อเกิดศูนย์ไกล่เกลี่ย ขึ้นมาก็

                       เป็นการช่วยลดปัญหาให้ครูอาจารย์ด้วย ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้นักเรียนได้คุยกันเอง จะขอพูดถึงกรณีที่
                       เคยเจอว่าจริงๆ แล้วมีผลหรือไม่ จากตอนแรกที่ไมมีศูนย์ไกล่เกลี่ยนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาท

                       นั้นอาจารย์ก็จะเรียกไปไต่สวน ดูว่าผิดตามหมวดใด ต้องตัดกี่คะแนน ถ้า 20 คะแนน ก็จะตัด 20

                       คะแนนเต็ม แต่เมื่อมีศูนย์ไกล่เกลี่ยแล้วมันเข้ามาคุยเปิดใจกัน เนื่องจากมีที่มาของเรื่องที่เกิดขึ้นก่อน
                       หน้านี้ จึงทำให้นักเรียนไม่เข้าใจกัน พอมาถึงจุดนี้ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยก็จะยื่นข้อเสนอว่า จริงๆ แล้ว

                       ต้องมีความผิดฐานะเลาะวิวาท แต่เมื่อเพื่อนไม่ได้ตั้งใจทำ เราก็ไม่ได้ตั้งใจทำ แต่เราต้องปกครอง

                       ตัวเอง ทำให้ทั้งคู่ต่างตกลงกัน คะแนนที่ต้องโดนหักไปในฐานของทะเลาะวิวาท 20 คะแนน อาจจะ
                       ลดเหลือคนละ 10 คะแนน แต่ก็โดนทั้งคู่ ซึ่งทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้จับมือกันและกลับมาเป็นเพื่อนกัน อีก

                       ครั้งเพราะว่าถ้ายังหักคะแนนเต็ม 20 คะแนน ก็จะมีความรู้สึกว่าเหมือนเรื่องยังไม่จบ เรามีตัวแทนผู้

                       ไกล่เกลี่ยทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย พยายามหาจุดที่ทั้งคู่พอใจที่สุดและยอมรับกันได้ จะช่วยตัดปัญหาใน
                       ส่วนของผู้ปกครอง ซึ่งถ้านักเรียนคุยกันแล้วผู้ปกครองก็จะเข้าใจกันว่านักเรียนดีกันแล้ว แต่ถ้ายังไม่ดี
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156