Page 152 - 21736_Fulltext
P. 152
131
กัน บางครั้งผู้ปกครองก็เอาเรื่องเหมือนกัน แต่ในเมื่อลูกต้องอยู่ในโรงเรียนไม่ได้เหมือนผู้ปกครองที่เข้า
มาแค่ 2-3 ชม. แต่ลูกต้องอยู่ต่อไป 2-3 ปี บางคนอยู่ถึง 6 ปี ทำให้เด็กมีปมในใจที่ยังแก้ไขไม่ได้ แต่
เพื่อนนักเรียนที่มาทำอะไรเพื่อนนักเรียนเอง มาช่วยแก้ปัญหาให้เพื่อนเอง ทำให้เกิดความรู้สึกว่าได้ทำ
ให้เพื่อนกลับมารักกันมาดีกัน ผมว่ามันเป็นสิ่งที่ดี ฉะนั้น พอมีศูนย์ไกล่เกลี่ย ขึ้นมาทำให้นักเรียนที่
กระทำความผิดนั้นตอนนี้เหลือ 14 คนเท่านั้น จาก 600 กว่าคน ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้ได้ผลสำหรับการแก้ไข
ปัญหาในโรงเรียน
ผู้บริหาร:
ตอนที่ยังไม่มีศูนย์ไกล่เกลี่ย พอมีการพิจารณาลงโทษแล้ว บางทีเรายังไม่แน่ใจว่าคามขัดแย้ง
นั้นจะสิ้นสุดหรือไม่ หรืออาจจะลงโทษต่อหน้าที่มานั่งพิจารณากันนั้น อาจจะยอมรับว่าตัวเองผิด
ผู้ปกครองจะไม่มีเรื่องต่อกันแล้ว แต่เราก็ยังไม่แน่ใจว่าเค้าจะไม่มีเรื่องกันอีก จะไปดักตีกันข้างนอก
หรือไม่ ฉะนั้นเมื่อมีศูนย์ไกล่เกลี่ยขึ้นมาทำให้ปัญหานี้ลดลงไป เด็กจะได้ทำความเข้าใจกันเพื่อให้ความ
ขัดแย้งนั้นมีการสิ้นสุดอย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่สิ้นสุดเพราะแค่การถูกตัดคะแนนหรือสิ้นสุดเฉพาะต่อหน้าผู้
พิจารณาเท่านั้น ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ความขัดแย้งนั้นมีการสิ้นสุดอย่างสมบูรณ์
ถาม: ศูนย์ไกล่เกลี่ย นั้นเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2555 ถ้าไม่มีศูนย์ไกล่เกลี่ย แต่เรามีฝ่ายปกครองอยู่แล้ว
ซึ่งฝ่ายปกครองสามารถทำหน้าที่ได้ไกล่เกลี่ยได้ คู่ไปกับการพิจารณาเรื่องการตัดคะแนน ท่านคิดว่า
แล้วมีความจำเป็นหรือไม่ในการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ย
ประธานสภานักเรียน:
ฝ่ายปกครองนั้นสามารถทำได้ในระดับหนึ่ง โดยมีขั้นตอนการพิจารณาดังนี้
1. อาจารย์ที่ปรึกษาจะเรียกนักเรียนมาพูดคุย และเชิญผู้ปกครองเข้ามา จากนั้นพิจารณาข้อ
ขัดแย้ง ถ้ายังไม่สิ้นสุดในกระบวนการนี้ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2
2. เข้าไปที่หัวหน้าระดับ หัวหน้าระดับจะเชิญผู้ปกครองและ อาจารย์ที่ปรึกษาเข้ามาพูดคุย
ว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร
อย่างที่บอกว่ามุมมองของครู ของฝ่ายปกครองนั้นจะเป็นมุมมองของผู้ใหญ่ แต่คู่กรณีที่เป็น
นักเรียนนั้นจะมีมุมมอง อีกแบบหนึ่งซึ่งเขาอาจจะไม่เข้าใจว่าทำไมผู้ใหญ่คิดแบบนั้น บางทีเขาก็
ยอมรับว่าจะไม่ทำให้เกิดเรื่องอีก เพราะไม่อย่างนั้นจะต้องถูกลงโทษ หรือผู้ปกครองก็รับปากแล้วเขาก็
ต้องยอมรับตามผู้ปกครอง แล้วพวกนี้เวลาทะเลาะกันนั้นเขาไม่ได้ทะเลาะกันตัวต่อตัว เขามีพวกซึ่ง
เป็นกลุ่มเด็กนอกโรงเรียน ซึ่งเมื่ออยู่นอกโรงเรียนแล้วเราไม่สามารถจะทำอะไรได้แล้ว ตรงนี้เป็นส่วน
สำคัญ คือถ้าอยู่ในตัวโรงเรียนนั้นเราอาจจะยับยั้งเขาได้โดยใช้กฎของโรงเรียนที่มีตามขั้นตอน แต่เรา
ไม่สามารถทำอะไรเพื่อนๆ เขาที่อยู่นอกโรงเรียนได้ จึงทำให้เราไม่แน่ใจว่าที่เขาบอกว่าจะไม่ทำอีกนั้น
จะจริงหรือไม่ เขาจึงต้องคอยติดตามว่าเรื่องที่ตัดสอนจบไปแล้วนั้นยังเกิดเหตุซ้ำอยู่หรือไม่ ซึ่งบางคดี
ก็มีเหตุการณ์ต่ออีก เช่น มีนักเรียน ม.6 รุ่นแรกที่ผมเข้ามานั้นรีดไถเด็ก ม.ต้น และพอเราจับได้ก็บอก