Page 193 - 21736_Fulltext
P. 193
172
นายกฤษฎา: เพื่อนของคู่กรณีเป็นบริบทที่สำคัญ เนื่องจากเมื่อไกล่เกลี่ยเสร็จแล้วจะเข้า
มาถามถึงสถานการณ์
น.ส.ภาวิณี: สิ่งแวดล้อม เช่น ห้องไกล่เกลี่ย สะอาด เย็นสบาย กฎกติกา ความเชื่อเรื่อง
ลูกอัจฉราลัยเหมือนกัน การไกล่เกลี่ยเป็นระบบที่นักเรียนเป็นผู้ดำเนินการ
อาจารย์ศุภณัฐ: ผู้ไกล่เกลี่ยต้องมีศรัทธาเชื่อมั่นในตัวเองว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาให้
คู่กรณีได้ ศรัทธาในกระบวนการของอาชีพครู ศรัทธาในกฎแห่งกรรม ให้ทำดี ห้องไกล่เกลี่ยมี
บรรยากาศที่ดี มิดชิด ไม่มีคนรบกวน
อาจารย์ชาญณรงค์: ห้องไกล่เกลี่ยมีบรรยากาศที่ดี แอร์เย็น ผู้ไกล่เกลี่ยเป็นผู้ที่ยึดมั่นใน
คุณธรรม มีความรู้ ผู้เกี่ยวข้องมีมากคนไม่ดี
4.5 ทรัพยากรควรมีอะไรบ้าง?
เด็กชายสุนัย: คนในโรงเรียน ไม่นำเรื่องไปเปิดเผย
นายสุรเศรษฐ์: ความรู้ความสามารถของคนกลาง นักเรียนเข้าใจเรื่องการไกล่เกลี่ย
นายวีรภัทร: สถานที่ไกล่เกลี่ย – กว้าง สบายตา แอร์เย็น
นายกฤษฎา: ระบบของการไกล่เกลี่ยที่แข็งแรง น่าเชื่อถือ นักเรียนมีคุณภาพ
น.ส.ภาวิณี: นักเรียนอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข สถานที่ไกล่เกลี่ย บอร์ด แผนภูมิขั้นตอน
การไกล่เกลี่ย บุคลากร ไม่มีครูมากดดันนักเรียน ผู้ไกล่เกลี่ยที่มีประสิทธิภาพ มีผู้สืบทอด
อาจารย์ชาญณรงค์: มีขั้นตอนการไกล่เกลี่ยที่ชัดเจน ประมวลกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประชาสัมพันธ์
อาจารย์ศุภณัฐ: บุคลากร ที่มีคุณภาพ การอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ คณาจารย์ที่ให้การ
สนับสนุน ระบบการจัดการที่ดี มีการสืบสานอย่างต่อเนื่อง มีองค์ความรู้ที่ดี พัฒนาระบบการจัดการ
สถานที่เหมาะสม มีเอกสารพร้อม
4.6 ข้อเสนอเพื่อพัฒนางานไกล่เกลี่ยควรเป็นอย่างไรบ้าง
นายสุรเศรษฐ์: ให้ความรู้กับครู และนักเรียนในวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์ ฯ
เด็กชายสุนัย: เปิดโอกาสให้ผู้ไกล่เกลี่ยได้ไปฝึกงานยังศาลและที่อื่นๆ เพื่อเพิ่มความรู้
ความสามารถ
นายวีรภัทร: การให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
น.ส.ภาวิณี: อยากให้มีศูนย์ฯ ต่อไป การสนับสนุนจากโรงเรียนโดยการให้ความรู้หรือ
สนับสนุนด้านอื่นๆ
นายกฤษฎา: อยากให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และอยากให้มีผู้สืบทอกศูนย์ฯ ต่อไป
โรงเรียนให้การสนับสนุน