Page 192 - 21736_Fulltext
P. 192

171



                              4.2 คู่กรณีควรเป็นอย่างไร (เช่น เป้าหมายร่วมกัน การเคารพมุมมองอีกฝ่าย อำนาจ)

                                 น.ส.ภาวิณี: ให้คู่กรณีเลือกระหว่างเข้าห้องปกครอง หรือ จะเข้ากระบวนการไกล่เกลี่ย

                       เคารพกฎในระหว่างการไกล่เกลี่ย มีข้อตกลงร่วมกันโดยการสมัครใจ
                                 นายกฤษฎา: การเปิดใจของคู่กรณีในระหว่างการไกล่เกลี่ย

                                 นายวีรภัทร: ต้องมีความรับผิดชอบ มีความเข้าใจตัวเองและคู่กรณี เห็นใจเขาใจเรา
                                 เด็กชายสุนัย: เชื่อฟังคนกลาง

                                 อาจารย์ศุภณัฐ: คนกลางควรรู้จุดอ่อนจุดแข็งของคู่กรณี และสร้างความมั่นใจให้ทั้ง 2

                       ฝ่าย เมื่อปัญหาจบลงจะไม่สร้างปัญหาใหม่อีกในอนาคต
                                 อาจารย์ชาญณรงค์: ไม่สามารถเลือกคู่กรณีได้ ปรับทัศนคติของคู่กรณี คู่กรณีควร

                       เชื่อมั่นในกระบวนการไกล่เกลี่ย

                                 4.3 การสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจควรมีหรือไม่ อย่างไร


                                 นายสุรเศรษฐ์: คู่กรณีไม่นำเรื่องไปเผยแพร่ภายหลังการไกล่เกลี่ย เข้าใจกัน ตกลงกันได้
                       เป็นเพื่อนกันได้

                                 นายวีรภัทร: ถ้าคู่กรณีเป็นเพื่อนสนิทหรือเป็นพี่น้องกัน มีส่วนช่วยให้การไกล่เกลี่ยสำเร็จ
                       ได้ง่ายขึ้น ถ้าไม่รู้จักกันเลย ควรมีกระบวนการในการสร้างความสัมพันธ์ สร้างจุดร่วมให้คู่กรณี ให้

                       ความรู้สึกเหมือนเพื่อนคุยกัน ไม่ใช่ศัตรูคุยกัน

                                 เด็กชายสุนัย: คู่กรณีกับคู่ไกล่เกลี่ยควรมีความสัมพันธ์กัน เพื่อสร้างความไว้วางใจ
                                 น.ส.ภาวิณี: คู่กรณีควรมีความไว้วางใจผู้ไกล่เกลี่ย ไม่มีความสัมพันธ์กับคนกลาง

                       เนื่องจากอาจเกิดการไม่ไว้วางใจ

                                 นายกฤษฎา: ไว้วางใจคนกลาง และกระบวนการเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน
                                 อาจารย์ศุภณัฐ: มีสังคหวัตถุ 4 (ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา) เพื่อสร้างความ

                       เข้าใจ ทาน-ให้ใจ ให้ความมั่นใจว่าสามารถไกล่เกลี่ยได้ ปิยวาจา- พูดดี ใช้วาจาเหมาะสม อัตถจริยา-
                       อ่อนน้อมถ่อมตน หาจุดร่วม (ลูกอัจฉราลัย – ลูกนางฟ้า)

                                 อาจารย์ชาญณรงค์: สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีหลังจากการไกล่เกลี่ย สร้างความ

                       ไว้วางใจผู้ไกล่เกลี่ย

                              4.4 บริบทสภาพแวดล้อมควรเป็นอย่างไร? (เช่น กฎกติกา ระบบความเชื่อเดียวกัน

                       ระบบเครือญาติ เป็นต้น)

                                 เด็กชายสุนัย: เข้าใจกฎกติกาของโรงเรียน

                                 นายสุรเศรษฐ์: คู่กรณีเชื่อใจผู้ไกล่เกลี่ย
                                 นายวีรภัทร: ระบบเพื่อนเป็นบริบทที่สำคัญเพื่อทำให้การไกล่เกลี่ยง่ายขึ้น
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197