Page 61 - 22432_fulltext
P. 61

60


               2.3.3. วิธีการอื่น ๆ และแนวทางเลือกใหม่ (ปัจจัยผลักดัน)


                       มาตรการลดหย่อนโทษที่มีประสิทธิภาพไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองโดยล าพัง ปัจจัยภายนอกในการ

               ผลักดันให้ผู้กระท าความผิดส่งข้อมูลเบาะเเสแก่หน่วยงานที่ส าคัญก็คืออัตราการตรวจจับที่สูงพอสมควร

               กล่าวคือ มาตรการฯ จะมีประสิทธิภาพได้นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของหน่วยงานในการตรวจจับและลงโทษ

               การร่วมกันจ ากัดการเเข่งขัน และผู้กระท าความตระหนักถึงความเสี่ยงสูงที่จะถูกตรวจจับ และถูกด าเนินคดีได้
               แม้ไม่ต้องพึ่งมาตรการลดหย่อน ความเสี่ยงต่อการถูกจับได้ที่สูงนี้เองที่จะชักน าให้ผู้ตกลงร่วมกันสารภาพ

                                  165
               ก่อนที่จะโดนตรวจจับ  โดยปัจจัยนี้ใช่ทั้งการรับมือเชิงรับเช่นมาตรการลดหย่อนโทษ และวิธีการเชิงรุกเช่น
               การตรวจคัดกรอง (screening) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีความพยายามที่จะใช้เทคโนโลยี

               ขั้นสูง เช่น ระบบปัญญาประดิษฐ์หรือระบบเอไอ และการเรียนรู้ของเครื่องจักรจากข้อมูลต่าง ๆ (machine

               learning) ในการรับมือการผูกขาดตลาด อัลกอริทึมเหล่านี้สามารถเป็นเครื่องมือที่ส าคัญในการหาข้อมูลที่มีค่า

               ในเเหล่งข้อมูลที่ใหญ่มากขึ้นในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพตลาด สร้างสรรค์นวัตกรรม

               และส่งเสริมการเเข่งขันในตลาด และยังสามารถช่วยในการตรวจสอบการตกลงร่วมกันได้อีกด้วย เมื่อคิดว่า
               เทคโนโลยีเอไอและบล็อกเชนโดยทั่วไปช่วยผู้เล่นลดการเเข่งขันในตลาด การใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการ

               มาตรการเชิงรุกเพื่อต่อต้านการเเข่งขันถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่
                                                                           166




               2.4. บทสรุป


                       งานวิจัยฉบับนี้ค้นคว้าและชี้แจงปัญหาของพระราชบัญญัติการเเข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ในเรื่อง

               การใช้มาตรการลดหย่อนโทษในประเทศไทย ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศไทยนั้นยังคงมีความต้องการมาตรการ

               ลดหย่อนโทษอย่างยิ่ง แม้จะมีหลักฐานความพยายามในการปรับใช้มาตรการที่มีลักษณะคล้ายกันอยู่ในรูปแบบ

               ของการเปรียบเทียบตามมาตรา 79 แต่มาตรการดังกล่าวโดยล าพังนั้นไม่สามารถแทนที่มาตรการลดหย่อน
               โทษที่จะน าไปสู่การป้องกันและก ากับดูแลการแข่งขันทางการค้าด้วยข้อจ ากัดของการขึ้นอยู่กับการใช้ดุลย

               พินิจของหน่วยงาน ซึ่งอาจไม่ท าให้เกิดความมั่นใจที่เพียงพอในฝั่งของผู้ให้ข้อมูล อีกทั้งมาตรการที่มีอยู่นั้นก็ไม่

               อาจท าให้เกิดการริเริ่มการสืบสวนสอบสวนขึ้นได้แต่ประการใดเพราะเป็นการใช้ดุลยพินิจในขั้นตอนของการ



               165  OECD, Challenges and co-ordination of leniency programmes – Summaries of contributions (2018), p. 2

               – 29.
               166  ดู OECD, Algorithms and Collusion: Competition Policy in the Digital Age (2017); OECD, Summary of the
               workshop on cartel screening in the digital era (2018); Schrepel, Thibault, Computational Antitrust:   An

               Introduction and Research Agenda (2021).
   56   57   58   59   60   61   62   63   64