Page 58 - 22432_fulltext
P. 58

57


               มอบข้อมูลหลักฐานของตนให้หน่วยงานเพราะเกรงกลัวบทลงโทษจากทั้งกฎหมายเองและสมาชิกอื่นในกลุ่ม

               กล่าวคือ อาจเป็นการสร้างให้เกิดการใช้การเปิดเผยข้อมูลเป็นค าขู่เพื่อให้การตกลงร่วมกันมีความมั่นคงมากขึ้น

               (disclosure as a threat) พ.ร.บ.การเเข่งขันฯ ปัจจุบันแม้จะมีมาตราเกี่ยวกับการลดโทษโดยการเปรียบเทียบ

               ความผิด หากส าหรับผู้ตกลงร่วมกันอาจไม่มีแรงจูงใจที่มากพอในการบอกความลับ เนื่องจากไม่มีหลักประกัน
                                                             158
               ว่าคณะกรรมการฯ จะลดโทษให้ตามกฎหมายมาตรานี้  ส าหรับหน่วยงานต่อต้านการเเข่งขันแล้ว นอกจาก

               การรอข้อมูลจากผู้แจ้งเบาะเเส การใช้พยานทางเศรษฐศาสตร์หรือพยานแวดล้อมสามารถช่วยในการรับมือกับ
               คดีการตกลงร่วมกันได้ อย่างไรก็ตามดังที่ได้กล่าวไว้ ประเทศไทยยังมีความไม่แน่นอนว่าศาลยอมรับหลักฐาน

               ดังกล่าวหรือไม่ และมีข้อสงสัยว่าสิ่งนี้จะสามารถผ่านเกณฑ์พิสูจน์จนสิ้นข้อสงสัยหรือไม่นั่นเอง


                       หากมีการปรับบทลงโทษเปลี่ยนเป็นการปรับทางปกครองซึ่งพ.ร.บ.การเเข่งขันฯ ได้ยอมรับและมี

                                 159
               ข้อบังคับพร้อมสรรพ  อย่างไรก็ตาม หากใช้บทลงโทษทางการปกครองในมาตรา 54 คณะกรรมการฯ อาจ
               ต้องพิจารณาจ านวนค่าปรับในมาตรา 55 ใหม่เพื่อจ าแนกความผิดให้ชัดเจนต่อไป นอกจากนั้นการลงโทษใน

               รูปแบบอื่น เช่น การลงโทษด้วยการยกเลิกหรือระงับใบอนุญาต ก็ยังสามารถที่จะถูกน ามาใช้ประกอบกันได้
               เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะหากผู้ประกอบธุรกิจนั้นประกอบธุรกิจที่จ าเป็นต้องมีการขอใบอนุญาต เป็นต้น


                       วิธีเเก้ไขที่สอง คือการเเก้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้ศาลยอมรับพยานทาง

               เศรษฐศาสตร์และพยานแวดล้อมในคดีการเเข่งขันทางการค้า อย่างไรก็ดีการเเก้ไขประมวลเพียงอย่างเดียว

               อาจไม่สามารถรับประกันว่าหลักฐานทั้งสองชนิดจะผ่านเกณฑ์พิสูจน์จนสิ้นข้อสงสัยได้หรือไม่ซึ่งเป็นข้อบังคับ

               บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 นอกจากนี้การเเก้ไขประมวลต้องได้รับความ

               ร่วมมือจากหน่วยงานอื่น คณะกรรมการฯ อาจไม่สามารถด าเนินการให้ลุล่วงได้เพียงองค์กรเดียว





               2.3.2. ข้อเสนอแนะโครงสร้างมาตรการลดหย่อนโทษ (ปัจจัยดึงดูด)


                       มาตรการลดหย่อนโทษเปิดทางเลือกให้ผู้ประกอบกิจการซึ่งได้ฝ่าฝืนกฎหมายการแข่งขันฯ สารภาพ
               การฝ่าฝืนและส่งข้อมูลหลักฐานให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกกับโทษของพฤติกรรมการผูกขาดที่

               ลดลง  ประเทศไทยยังไม่มีคดีไหนที่มีสมาชิกเป็นผู้แจ้งเบาะเเสการตกลงร่วมกันที่มีผลกระทบร้ายแรง ดังนั้น
                    160




               158  ดู พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มาตรา 79

               159   ดู the  Trade  Competition Commission Regulation  on  Complaints, Investigation, and  Procedures  for
               Criminal or Administrative Prosecution B.E. 2562.

               160  OECD, Executive Summary of the roundtable on Challenges and co-ordination of leniency programmes
               (2018), p.2.
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63