Page 57 - 22432_fulltext
P. 57

56


               กฎหมาย (precedence) ในคดีการแข่งขันทางการค้าซึ่งได้ขึ้นไปสู่ชั้นศาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีการตกลง

               ร่วมกัน ท าให้การก าหนดรูปแบบโครงสร้างมาตรการให้เหมาะสมกับประเทศไทยเป็นไปได้ยาก


                       วิธีเเก้ไขประการแรก คือการปรับให้โทษทางอาญาตามพ.ร.บ.การเเข่งขันฯ มาตรา 54 เป็นโทษชนิด

               อื่น อาทิ โทษทางปกครองหรือแม้แต่โทษทางพินัย เป็นต้น เหตุผลที่อาจมีการปรับเปลี่ยนไม่ใช้โทษทางอาญา

               กับความผิดตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้านั้นเป็นเพราะกฎหมายอาญาเป็นกฎข้อบังคับซึ่งออกโดยฝ่าย
               นิติบัญญัติเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันการก่อ

               อาชญากรรมและลงโทษผู้ฝ่าผืนเพื่อไม่ให้กระท าความผิดนั้นอีก เป้าหมายที่ส าคัญอีกประการคือเพื่อปกป้อง

               สังคม โดยครอบคลุมไปถึงการสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของการก่ออาชญากรรมนอกเหนือจาก

                                                      155
               ประโยชน์ในการยับยั้งจากบทลงโทษโดยตรง  อีกด้านหนึ่ง กฎหมายการเเข่งขันทางการค้าคือกฎหมาย
               เศรษฐกิจที่ดูเเลความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบกิจการ เพื่อสร้างการเเข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมในตลาด

               ผลลัพธ์ที่เล็งเห็นได้ของตลาดเช่นนี้คือระบบเศรษฐกิจการค้าที่เติบโตขึ้น เนื่องจากมาตรการกระจายทรัพยากร

               อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างงาน การกระจายรายได้ และเงินลงทุนจากต่างประเทศอย่างเป็นธรรม เดิมนั้น
               สาเหตุที่เขียนไว้ให้ต้องมีบทลงโทษทางอาญาในกฎหมายการเเข่งขันทางการค้า คือ การอ้างถึงความจ าเป็นใน

               การควบคุมพฤติกรรมของผู้ประกอบการ เพราะการฝ่าฝืนจะส่งผลกระทบทางร้ายแก่สังคมส่วนรวม โทษทาง

                                                                           156
               อาญาสามารถสร้างความกลัวและท าให้ไม่กล้าฝ่าฝืนกฎหมายเศรษฐกิจนี้  ดังนั้นแล้ว กฎหมายการเเข่งขันฯ
               จึงเป็นบทบัญญัติทางอาญา ซึ่งต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ

                          157
               อาญา ภาค 1  ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น

                       อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาลักษณะคดีการตกลงร่วมกันฯ จะเห็นความแตกต่างจากคดีประเภทอื่น

               โดยเฉพาะกรณีการใช้อ านาจเหนือตลาดอย่างไม่เป็นธรรม (Abuse of dominance) โดยคดีตกลงร่วมกันนั้นมี

               สมาชิกกระท าความผิดหลายคนร่วมมือกันเพื่อผูกขาดตลาด เช่น การก าหนดราคาและการฮั้วประมูลเป็นต้น
               จากมุมมองคนภายนอก ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือหน่วยงานต่อต้านการผูกขาด พฤติกรรมลับ ๆ นี้ยากที่จะ

               ตรวจจับ หากในมุมมองกลุ่มสมาชิกที่กระท าความผิด พวกเขาสามารถเพิ่มความร้ายแรงของพฤติกรรม

               ดังกล่าวจนกว่าจะถูกจับได้ ดังนั้นถึงมีบทลงโทษทางอาญาก็ไม่อาจให้ประโยชน์ประการใดมากนัก นอกจาก

               โทษที่ร้ายแรงขึ้นหากแต่ยังไม่เคยถูกใช้ส าหรับกรณีเช่นนี้ในประเทศไทยแม้แต่ครั้งเดียว นอกจากนี้ เมื่อโทษมี

               ความร้ายแรงอย่างโทษอาญา สมาชิกที่ตกลงร่วมกันจ ากัดการแข่งขันยิ่งมีแนวโน้มน้อยลงที่จะสารภาพและ





               155  Maculan, Elena and Gil, Alicia Gil, The Rationale and Purposes of Criminal Law and Punishment in
               Transitional Contexts (2020), Oxford Journal of Legal Studies, p. 133 – 140.

               156  OTCC, Why Competition Law needs Criminal Penalty (2015), p. 2 – 4.
               157  เพิ่งอ้าง.
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62