Page 56 - 22432_fulltext
P. 56
55
153
แวดล้อมอยู่ภายใต้ค าว่า “ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่า” และสามารถใช้อ้างต่อศาลได้ อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังไม่มีการ
น าหลักฐานชนิดดังกล่าวมาใช้จริงในประเทศไทย
ประการสุดท้าย หากศาลยอมรับฟังพยานแวดล้อม หลักฐานนั้นต้องสามารถพิสูจน์ได้จนสิ้นข้อสงสัย
ตามสมควร (Proof beyond a reasonable doubt) ภายใต้มาตรา 227 ศาลในสหรัฐอเมริกาพิจารณา
หลักฐานชนิดนี้ว่าผ่านเกณฑ์ดังกล่าว อ้างอิงจากคดีที่ศาลได้ตัดสินเป็นบรรทัดฐานว่า “พฤติกรรมของจ าเลยไม่
154
สามารถเกิดขึ้นได้เลยหากไม่มีการตกลงร่วมกัน” ศาลในสหรัฐอเมริกายังได้น าพฤติกรรมการก าหนดราคา
หรือปริมาณสินค้าและบริการไปในทิศทางเดียวกับคู่เเข่งโดยไม่ได้นัดแนะกัน (conscious parallelism)
ประกอบการพิจารณาคดีอีกด้วย ส าหรับประเทศไทย หากพยานแวดล้อมหรือพยานด้านเศรษฐศาสตร์ไม่ผ่าน
เกณฑ์พิสูจน์จนสิ้นข้อสงสัยตามสมควร ความส าคัญของมาตรการลดหย่อนโทษจะถูกจับตามองมากยิ่งขึ้น
2.3. ข้อเสนอแนะเพื่อการน ามาตรการลดหย่อนโทษมาบังคับใช้ในประเทศไทยและวิธีการอื่นที่น่าสนใจ
ดังที่ได้ศึกษาแนวทางการรับมือของคณะกรรมการฯ ต่อการตกลงร่วมกันจ ากัดการแข่งขันในปัจจุบัน
ดูเสมือนว่าการน ามาตรการลดหย่อนโทษมาปรับใช้จะเป็นทางออกที่เชื่อถือได้ในเชิงทฤษฎี อย่างไรก็ตาม
ภาวะที่หาทางออกไม่ได้ (deadlock) อาจเกิดขึ้นหากไม่ได้พิจารณาประเด็นเหล่านี้ เนื้อหาในส่วนนี้จะ
ประกอบด้วยสามส่วนหลัก ได้แก่ (1) การท าให้มาตรการปรับใช้ได้จริง (2) การปรับโครงสร้างแรงจูงใจของ
มาตรการ และ (3) การส่งเสริมวิธีการรับมือเพื่อความส าเร็จของมาตรการ และมาตรการทางเลือก
นอกเหนือจากการลดหย่อนโทษ
2.3.1. การท าให้มาตรการลดหย่อนโทษสามารถน ามาปรับใช้ได้ในสถานการณ์จริงในประเทศไทย
การสร้างแนวทางเพื่อปรับใช้มาตรการในปัจจุบันไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงกลไกทาง
กฎหมายบางประการ ดังที่กล่าวไว้ในหัวข้อที่ 2.2.4 ปัญหาที่อาจท าให้มาตรการลดหย่อนโทษไม่ถูกน ามาปรับ
ใช้คือปัญหาว่าหลักฐานจากกรณีนี้ศาลยอมรับหรือไม่ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงที่ว่าปัจจุบันยังไม่มีบรรทัดฐานทาง
153 ธีสุทธิ์ พันธ์ฤทธิ์, การรับฟังและชั่งน้ าหนักพยานแวดล้อมกรณี: ศึกษากรณีคดีฆาตกรรมนางผัสพร บุญเกษมสันติ (2561),
น. 44.
154 Werden, Gregory J., Economic Evidence on the Existence of Collusion: Reconciling Antitrust Law with
Oligopoly Theory (2004), p. 31.