Page 116 - b29259_Fulltext
P. 116
สามารถถอดหรือปลดผู้พิพากษาศาลสูงออกจากตำาแหน่งได้ ซึ่งในกรณีนี้
ทำาให้ประธานาธิบดีไม่สามารถปฏิเสธการถูกตรวจสอบได้
หน้าที่ที่สำาคัญของฝ่ายนิติบัญญัติ มี 4 ประการ ได้แก่
183
2.2.1 การตรากฎหมาย (Legislative)
การตรากฎหมายเป็นหน้าที่หลักของรัฐสภา ทั้งนี้เป็นผลมาจาก
วิวัฒนาการอันยาวนานของระบอบการเมืองที่มนุษย์สร้างขึ้นจากปัญหาใน
อดีต ดังนั้น นัยสำาคัญสองประการของการมีรัฐสภาที่ทำาหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
ได้แก่ ประการแรก ที่ประชุมรัฐสภาเป็นที่ประชุมอันเปิดเผยของตัวแทน
ประชาชน ซึ่งสามารถถกเถียง แสดงเหตุผล หักล้าง สนับสนุนกันได้อย่าง
เปิดเผย ประการที่สอง การมีที่ประชุมอันมีตัวแทนมาจากประชาชนเพื่อ
ทำาหน้าที่เสนอร่างกฎหมาย พิจารณากฎหมาย และรับรองให้กฎหมายนั้น
มีผลบังคับใช้จึงสำาคัญอย่างมากต่อหลักการที่ว่า ประชาชนเป็นผู้ร่างและ
บังคับใช้กฎหมายนั้นเอง
ในหลักการว่าด้วยหน้าที่ในการตรากฎหมายดังกล่าว ปัจจุบันได้
ขยายถึงช่องทางใหม่ ๆ ในการเสนอกฎหมาย โดยในรัฐธรรมนูญได้กำาหนด
ให้รัฐสภาเป็นผู้ทรงอำานาจนี้เอาไว้ ถึงแม้ว่าจะเปิดโอกาสให้รัฐบาล หรือ
ประชาชนเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมาย แต่ก็ยังต้องผ่านการพิจารณา
โดยรัฐสภา โดยการออกแบบกระบวนการให้มีการมีส่วนร่วมทางการเมือง
โดยการเสนอร่างกฎหมายจากประชาชนขึ้นอีกส่วนหนึ่ง
183 Andrew Heywood, Politics, pp.314-317. ดูเพิ่มเติมและเปรียบเทียบ
กับ Walter Bagechot, “The House of Commons” in Philip Norton ed.,
Legislatures (New York: Oxford University Press, 1990), pp. 35-46.
116