Page 120 - b29259_Fulltext
P. 120
2.2.4 การสร้างความชอบธรรม (Legitimacy)
หน้าที่สำาคัญที่สุดประการหนึ่งของฝ่ายนิติบัญญัติ คือการสร้าง
ความชอบธรรม อันหมายถึงการสร้างการยอมรับจากสาธารณชนว่า
การเข้าไปสู่อำานาจและการใช้อำานาจนั้นเป็นไปโดยชอบธรรม และไม่มี
ข้อสงสัยเคลือบแคลงต่อการเข้าไปใช้อำานาจ
การมีสภาตัวแทนของประชาชนมีนัยสำาคัญว่า ฝ่ายประชาชน
มีตัวแทนโดยชอบธรรมที่จะเข้าไปตรากฎหมาย กำากับ ตรวจสอบการทำางาน
ของฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล ดังนั้น แม้แต่ในระบอบเผด็จการอำานาจนิยม
เบ็ดเสร็จยังต้องจัดให้มีสถาบันที่เป็นตัวแทนประชาชนในรูปของ
สภานิติบัญญัติ สภาประชาชน หรือรัฐสภา เพื่อสำาแดงภาพลักษณ์ว่า
ยอมรับว่าอำานาจสูงสุดเป็นของประชาชนและมีที่มาจากประชาชน การมี
สภาจึงเป็นเสมือนการโฆษณาชวนเชื่อ แม้ในรัฐเสรีนิยมประชาธิปไตย
สภาก็อาจถูกใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับฝ่ายบริหาร
แต่ในหลาย ๆ กรณี การเปิดประชุมสภาให้มีการถกเถียงก็เป็น
ช่องทางเหนี่ยวรั้ง ตรวจสอบการกระทำา การตัดสินใจเชิงนโยบาย หรือ
กระทั่งการประกาศสงครามของฝ่ายบริหารถูกท้วงติง ทัดทาน หรือยับยั้งได้
นอกจากนี้ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารร่วมสมัย ทำาให้
การถ่ายทอดสดการประชุมตัวแทนของประชาชนเป็นไปได้ง่ายและเปิดเผย
สภาจึงนิยมถ่ายทอดสดการประชุมของตนแก่สาธารณชน เช่นเดียวกับ
สื่อมวลชนร่วมสมัยที่กระหายใคร่รู้ในการประชุม การตัดสินใจของสภา
120