Page 117 - b29259_Fulltext
P. 117
ในส่วนการเสนอร่างกฎหมายของรัฐบาลนั้น จะเห็นได้ว่า
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นช่องทางสำาคัญในการเสนอปัญหา
ความเดือดร้อนของประชาชนและเปิดให้ถกเถียง แลกเปลี่ยน เสนอเหตุผล
ต่าง ๆ เพื่อนำาไปสู่การแก้ปัญหา ซึ่งก็คือการนำาเสนอนโยบายของรัฐบาล
ให้ผ่านการรับรองของสภาฯ และนำาความเห็นต่าง ๆ และได้รับมอบ
ความชอบธรรมในการตรากฎหมายเพื่อให้อำานาจไปใช้แก้ปัญหา นับว่า
เป็นอำานาจการตรากฎหมายในทางบวก (Positive Legislative Power)
ส่วนอำานาจการตรากฎหมายเชิงนิเสธ (Negative Legislative
Power) นั้น เห็นได้จากการล้มร่างกฎหมาย หรือ ปฏิเสธร่างกฎหมาย
รวมไปถึงการแก้ไขร่างกฎหมายที่เสนอเข้ามา ซึ่งในกรณีของระบบรัฐสภา
จะอยู่ในส่วนการพิจารณาโดยสภาขุนนาง (หรือวุฒิสภา) ซึ่งในประเทศ
อังกฤษก็ไม่ค่อยได้ใช้อำานาจล้มร่างกฎหมายทั้งในการพิจารณาโดย
สภาสามัญหรือสภาขุนนาง
2.2.2 การเป็นตัวแทน (Representative)
บทบาทของรัฐสภาทำาหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านจากอาณานิคมสู่เอกราชของสหรัฐอเมริกาถึงกับ
มีการประกาศว่า “จะไม่จ่ายภาษี หากไม่มีตัวแทน” (no tax with
representation) ซึ่งการเป็นตัวแทนของประชาชนได้ขยายออกไปสู่
การให้ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งเป็นการทั่วไป (Universal Suffrage)
ซึ่งทำาให้สภาฯ กลายเป็นตัวแทนของประชาชน ดังนั้น อำานาจและบทบาท
ของสถาบันนิติบัญญัติจึงเป็นเครื่องบ่งชี้หนึ่งถึงความเป็นประชาธิปไตย
117
หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ 117