Page 118 - b29259_Fulltext
P. 118

ในการเมืองแบบรัฐสภาของอังกฤษ ผู้แทนราษฎรจะทำาหน้าที่เป็น

        ตัวแทนในเขตเลือกตั้งของตัวเอง คอยปกปักรักษาผลประโยชน์ของประชาชน
        ในพื้นที่ที่ตัวเองสังกัด แต่ยังต้องคำานึงถึงบทบาทของพรรคการเมืองที่

        ผู้แทนแต่ละคนสังกัด เพราะปัจจุบันพรรคการเมืองมีบทบาทในการกำากับ
        พฤติกรรมของสมาชิกพรรคตัวเองด้วย ผู้แทนจึงทำาหน้าที่ในอีกด้านหนึ่ง
        เป็นตัวแทนของพรรคการเมืองซึ่งเป็นกลไกสำาคัญในการเลือกตั้งและ

        การบริหารราชการแผ่นดินอีกด้วย


               2.2.3 การสังเกตการณ์เชิงวิพากษ์และตรวจสอบควบคุม (Scrutiny)

               จากความเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติ

        จะพบว่าหน้าที่ของความเป็นตัวแทนและการนิติบัญญัติดูจะไม่ปรากฏ
        ต่อสาธารณชนมากนัก แต่การทำาหน้าที่สังเกตการณ์ การวิพากษ์วิจารณ์

        และตรวจสอบควบคุมการทำางานของฝ่ายบริหารนั้นเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ
        ในการทำางานของฝ่ายบริหารนั้นดำาเนินไปภายใต้การตรวจตรา สอดส่อง
        ติดตาม โดยฝ่ายนิติบัญญัติผ่านกลไกหลายรูปแบบ เช่น ในระบบรัฐสภา

        จะตรวจสอบฝ่ายบริหารผ่านการตอบกระทู้ถามของสมาชิกสภาสามัญ
        ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะตอบคำาถามหนึ่งครั้งทุกสัปดาห์ ส่วนรัฐมนตรีอาวุโส

        อื่น ๆ เดือนละหนึ่งครั้ง ทั้งด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร

               นอกจากการตอบคำาถามด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร สภา

        ได้สร้างระบบการตรวจสอบผ่านกลไกกรรมาธิการสามัญ (Standing
        Committee) ที่ตั้งขึ้นประจำาสภา ทำาหน้าที่ติดตามการทำางานของรัฐบาล
        ในบางครั้งอาจมีการตั้งกรรมาธิการพิเศษเพื่อทำาหน้าที่เป็นการเฉพาะ

        เรียกว่า “กรรมาธิการวิสามัญ” ซึ่งจะมีวาระเท่าที่กำาหนดไว้จนกว่าจะทำา



     118
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123