Page 80 - b29259_Fulltext
P. 80
นักคิดกลุ่มดังกล่าวจึงเสนอให้ประชาธิปไตยมุ่งเน้นในการกระจายอำานาจ
(decentralization) และการมีส่วนร่วม (participation) ของประชาชน
เพื่อให้ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกเรื่องที่สัมพันธ์กับชีวิตของตน
ขณะเดียวกันก็ยืนยันหลักการความเท่าเทียมทางสังคมโดยเฉพาะในทาง
เศรษฐกิจ
จะเห็นได้ว่ามีแนวคิด ทฤษฎีที่อธิบายประชาธิปไตยได้หลากหลาย
ตามความคิดทางการเมืองที่แต่ละชุดความคิดได้รับอิทธิพลมา ตั้งแต่
หลักปรัชญาการเมืองคลาสสิคจนถึงสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ แต่จุดร่วม
สำาคัญก็คือ แนวคิดเหล่านี้อ้างอิงและยึดโยงอำานาจสูงสุดไว้ที่ประชาชน
แต่มีจุดเน้นต่างกัน เช่น การคุ้มครองสิทธิของประชาชน จนถึงการสร้าง
หลักประกันความเท่าเทียมทางสังคม 164
1.2.3 รูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตย (forms
of democratic governance): ระบบรัฐสภาแบบอังกฤษ ระบบ
ประธานาธิบดี และระบบกึ่งประธานาธิบดี
จากหลักการประชาธิปไตยที่มีแนวคิดร่วมกันในเชิงหลักการพื้นฐาน
ได้แก้แก่ การให้ความสำาคัญกับหลักอำานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หรือ
ประชาชนเป็นเจ้าของอำานาจที่แท้จริง หลักความชอบธรรมในการใช้อำานาจ
โดยยึดโยงกับประชาชน หลักการเคารพการตัดสินใจของเสียงส่วนใหญ่
แต่ก็รักษาสิทธิและปกป้องเสียงข้างน้อย ทำาให้การออกแบบระบอบและ
สถาบันการเมืองแตกต่างกันออกไปตามภูมิหลังความเป็นมาของแต่ละสังคม
164 Andrew Heywood, Politics, p. 93-99.
80