Page 81 - b29259_Fulltext
P. 81
แต่ระบอบการเมืองแทบทุกระบอบในโลกนี้ต่างอ้างอิงหลักการประชาธิปไตย
ทั้งสิ้น ความแตกต่างอยู่ที่การวางรูปแบบความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่าง
สถาบันต่าง ๆ ในรายละเอียด เช่น ประมุขและที่มาของประมุข ผู้ที่ทำาหน้าที่
ในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นตัวแทนประชาชนหรือรัฐสภา และ
ผู้ใช้อำานาจยุติธรรม ตลอดจนกลไกการตรวจสอบต่าง ๆ การปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยในโลกนี้จำาแนกออกเป็นสามระบบ ได้แก่ ระบบรัฐสภาแบบ
อังกฤษ (Parliamentary System) ระบบประธานาธิบดี (Presidential
System) และระบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential System)
ระบบรัฐสภาแบบอังกฤษมีกษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ มีฝ่ายนิติบัญญัติ
มาจากการเลือกตั้ง และฝ่ายสภาขุนนางที่มาจากการสืบตระกูลและ
การแต่งตั้ง เสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาสามัญจะเข้าไป
จัดตั้งรัฐบาลทำาหน้าบริหารหรือรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ส่วนฝ่ายอำานาจ
ยุติธรรมมีความเป็นอิสระ และมีอำานาจบางส่วนที่เหลื่อมซ้อนกัน เช่น เป็น
ขุนนางสืบตระกูลมีตำาแหน่งในสภาขุนนางแต่ทำาหน้าที่ในฝ่ายอำานาจยุติธรรม
เป็นต้น นอกจากนี้ ฝ่ายสภาผู้แทนราษฎรยังสามารถควบคุมตรวจสอบ
การทำางานของรัฐบาลได้ผ่านการอภิปรายแบบต่างและสามารถมีมติแสดง
ความไม่ไว้วางใจในรัฐบาลได้ ขณะที่รัฐบาลทรงไว้ซึ่งอำานาจในการยุบ
สภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจใหม่
ส่วนระบบประธานาธิบดี หมายถึง ระบบการเมืองที่การใช้อำานาจ
อิงกับรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยกำาหนดอำานาจหน้าที่และ
ที่มาของฝ่ายต่าง ๆ ที่แยกออกจากกันเพื่อผลในทางการตรวจสอบและ
ป้องกันเผด็จการ ซึ่งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติต่างมาจากการเลือกตั้ง
หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ 81 81