Page 85 - b29259_Fulltext
P. 85
อาศัยความนิยมจากประชาชนก่อนเข้าไปใช้อำานาจ และในหลาย ๆ กรณี
ก็ทำาให้คนที่มีการศึกษาสูงกว่าคนทั่วไปคิดว่าเสียงของตัวเองไม่มีความหมาย
เมื่อเสียงส่วนใหญ่ที่ด้อยการศึกษากว่าตนเลือกตัวแทนของเขาโดยไม่คำานึง
ถึงเหตุผล แต่ยืนอยู่บนความนิยม ผลก็คือคนเหล่านั้นคิดว่า เสียงข้างน้อย
ของตนไม่มีความหมาย และในทำานองเดียวกัน การตัดสินใจทางการเมือง
ก็ไม่อยู่บนฐานของเหตุผล แต่วางอยู่บนความนิยมมากกว่า ดังนั้น นโยบาย
ที่เป็นประโยชน์กับประเทศอาจถูกละเลยเนื่องจากไม่เป็นที่นิยม เช่น
การขึ้นภาษีอากรเพื่อนำารายได้มาเป็นงบประมาณในการพัฒนาประเทศเป็น
นโยบายที่เป็นประโยชน์ แต่มักถูกคัดค้านเพราะทำาให้รัฐเสื่อมความนิยม
ผลก็คือหากรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยขาดความกล้าหาญที่จะดำาเนิน
นโยบายที่เสี่ยงต่อความนิยม ก็จะทำาให้เกิดความเสื่อมถอยของประเทศได้
1.3 ความหมาย แนวคิด ของการเมืองแบบรัฐสภา
ระบอบการเมืองแบบรัฐสภา (Parliamentary System) หมายถึง
ระบอบการเมืองที่ยึดหลักการว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำานาจอธิปไตย
(soverignty) ซึ่งหมายความว่าประชาชนเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำานาจสูงสุดในรัฐ
และได้มอบหมายให้ผู้ที่เป็นตัวแทนของตนเข้าไปทำาหน้าที่ตัดสินใจแทน
ในที่ประชุม ซึ่งที่ประชุมของเหล่าตัวแทนที่ชอบธรรมของประชาชนก็คือ
รัฐสภา (parliament)
อาจกล่าวได้ว่าหลักการของประชาธิปไตยก็คือ หลักการที่กำาหนด
ให้อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เป็นที่มาของรัฐบาลและรัฐบาลมี
ข้อผูกพันที่ต้องกระทำาหน้าที่เพื่อประชาชน
หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ 85 85