Page 86 - b29259_Fulltext
P. 86

การเมืองแบบรัฐสภามักจะถูกโยงเข้ากับพัฒนาการทางการเมือง

        ของประเทศอังกฤษซึ่งมีการต่อสู้ ต่อรองกันระหว่างสถาบันกษัตริย์กับ
        เหล่าขุนนางและตัวแทนของประชาชน ตั้งแต่การที่กษัตริย์อังกฤษยอมรับ
        ที่จะจำากัดอำานาจของพระองค์ลงซึ่งมีผลให้กษัตริย์ลดบทบาทในทาง

        การเมืองลง และให้ตัวแทนของประชาชนที่ทำาหน้าที่บัญญัติกฎหมายและ
        ทำาหน้าที่บริหารประเทศได้มีบทบาทมากขึ้น และมีความรับผิดรับชอบ

        ในทางการเมืองอย่างสมบูรณ์ในที่สุด ในสถาบันการเมืองที่พัฒนามาโดย
        ลำาดับนั้นทำาให้อังกฤษมีสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาสามัญ (House of
        Commons) และสภาขุนนาง (House of Lords) ประกอบกันเป็นรัฐสภา

        โดยพระมหากษัตริย์อังกฤษธำารงการเป็นศูนย์รวมจิตใจของประเทศ

               ขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเคยเป็นดินแดนอาณานิคมของ

        อังกฤษมาก่อนและประกาศอิสรภาพเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2319
        (ค.ศ. 1776) และเกิดความจำาเป็นในการร่างข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน

        ระหว่างรัฐต่าง ๆ เกิดการถกเถียงและเปลี่ยนในประเด็นสำาคัญต่าง ๆ เพื่อ
        นำาไปสู่การสร้างสถาบันการเมืองที่ทำาหน้าที่ปกครองและบริหารประเทศ
        โดยคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญอเมริกัน (Founding Fathers) มีจำานวน 55 คน

        มาประชุมที่เมืองฟิลาเดเฟีย (Philadelphia) ใน พ.ศ. 2430 (ค.ศ. 1787)
        เพื่อตกลงในรายละเอียดของระบบการเมืองการปกครองของประเทศที่

        เพิ่งก่อตั้งใหม่ ทั้งการคิดค้นระบบการเลือกตัวแทนเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร
        วุฒิสภา ตลอดจนการคัดเลือกประธานาธิบดี และรวมถึงการสร้างระบบ
        การถ่วงดุลอำานาจเพื่อป้องกันทรราชย์นับว่าเป็นประดิษฐกรรมที่ทันสมัย

        มากในยุคนั้น และเป็นต้นแบบของการร่างกติกาทางการเมืองที่รู้จักกันในชื่อ





     86
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91