Page 89 - b29259_Fulltext
P. 89
ที่สามัญชนจะถูกพิจารณาคดีโดยขุนนางของพวกเขา ทั้งยังเป็นการรับรอง
สิทธิของปัจเจกบุคคล มหากฎบัตรยังเป็นการวางรากฐานของหลักการ
ที่ว่าประชาชน (ผ่านบรรดาขุนนางของเขา) สามารถจำากัดพระราชอำานาจ
ของกษัตริย์ได้หากสิ่งที่พระมหากษัตริย์ทำาเหล่านั้นไม่เป็นผลดีต่อประเทศ
กรณีที่สอง การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ พ.ศ. 2231 (the Glorious
Revolution, ค.ศ. 1688) เป็นผลมาจากการควบคุมเสรีภาพทางศาสนา
มากเกินไป ฝ่ายโปรแตสแตนท์มองว่าพระเจ้าเจมส์ที่ 2 จะทำาให้เกิด
การกลับคืนสู่ศาสนจักรโรมันแคธอลิก ทำาให้ฝ่ายโปรแตสแตนท์เกรงว่า
จะถูกกำากัดเสรีภาพในการนับถือศาสนา จึงทำาให้เกิดการต่อต้านและ
ขับพระเจ้าเจมส์ที่สองออกจากบัลลังก์ ในบริบทของการเมืองอังกฤษ
หลังการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์นี้เองที่เกิดคำาว่า “constitution (รัฐธรรมนูญ)” ขึ้น
ในการที่พระเจ้าเจมส์ที่สอง (James II) ถูกกล่าวหาว่าทรงละเมิดต่อ
169
“หลักการพื้นฐานทางรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักร” ซึ่งโดยนัยดังกล่าว
คำาว่า constitution ถูกใช้ในความหมายกว้าง ๆ หมายถึงหลักการหรือ
ข้อตกลง
รัฐสภาได้เชิญพระเจ้าวิลเลียมส์ที่ 3 (William of Orange)
เสด็จมาพร้อมกับกองเรือดัชท์และขับพระเจ้าเจมส์ที่สองออกจากบัลลังก์
จากนั้นสภาสามัญได้อัญเชิญพระเจ้าวิลเลียมส์ที่ 3 กับพระนางแมรี่ที่ 2
(Mary II เป็นพระธิดาของพระเจ้าเจมส์) ขึ้นครองราชย์ร่วมกัน (joint
169 ในภาษาอังกฤษคือ “fundamental constitution of the Kingdom”
ดู Oxford Concise Dictionary of Politics (New York: Oxford University
Press), 2009, 116.
หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ 89 89