Page 90 - b29259_Fulltext
P. 90

sovereign) และลงนามในพระราชบัญญัติสภาผู้แทนราษฎร (The Act

        of Parliament วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2232 (ค.ศ. 1689) ที่เรารู้จัก
        กันในชื่อ “บัตรแห่งสิทธิ (Bill of Rights)” สาระสำาคัญของกฎหมายนี้
        คือเป็นการรับรองสิทธิต่าง ๆ ในเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดให้มีการประชุม

        สภาผู้แทนราษฎรอย่างสมำ่าเสมอ การเลือกตั้งอย่างเสรีและเอกสิทธิ์คุ้มครอง
        ในการแสดงความเห็นที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ทั้งยังรวมถึงหลักการ

        สำาคัญเรื่องอัตราพิกัดภาษีที่จะต้องผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร
        เสียก่อน หลักการที่รัฐบาลจะไม่แทรกแซงกิจการของสภาผู้แทนราษฎร
        หลักการให้สิทธิในการอุทธรณ์ต่อศาลและหลักการพิจารณาคดีและ

        การปฏิบัติต่อประชาชนของศาลยุติธรรม ซึ่งหลักการเหล่านี้เป็นพื้นฐาน
        ของการร่างหลักการแห่งสิทธิในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา เอกสารด้าน

        สิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ทั้งในคำาประกาศสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ
        ตลอดจนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหภาพยุโรป


               ในอีกด้านหนึ่ง วิวัฒนาการของสภาสามัญ (House of Commons
        หรือสภาผู้แทนราษฎร) เกิดขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 13 เริ่มจากการที่
        กษัตริย์กำาหนดให้ขุนนางส่วนใหญ่มีฐานันดรเป็นเอิร์ล (earls) และบารอน

        (barons) มาเข้าเฝ้าเพื่อถวายคำาปรึกษาในราชสำานักในสภาที่ปรึกษาของ
        กษัตริย์ (Curia Regis หรือ king’s court) ใน พ.ศ. 1797 (ค.ศ.1254)

        กษัตริย์ได้เรียกอัศวิน (knight) จากมณฑล (shire) ต่าง ๆ เขตละสองคน
        เพื่อถามว่ากรณีที่กษัตริย์ต้องการเงินจะสามารถช่วยเหลือได้มากน้อย
        อย่างไร ต่อมาในปี พ.ศ. 1807 (ค.ศ.1264) บารอนซีโมนแห่งมงฟอร์ต

        (Simone de Montfort) ซึ่งเป็นขุนนางที่มีอิทธิพลมากได้เรียกให้อัศวิน
        4 นาย จากแต่ละมณฑลมาหรือเรื่องกิจการบ้านเมือง และในปีต่อมา



     90
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95