Page 111 - kpiebook62001
P. 111

ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนหรือภาคประชาชน จากการสัมภาษณ์นักวิชาการบางส่วน

               ก็ไม่สามารถให้ค าตอบได้ว่ากระบวนการได้มาซึ่งโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐมีการคัดเลือกอย่างไร หรือ
               ผ่านความเห็นชอบของภาคส่วนใดบ้าง ความคลุมเครือและคาดเดาไม่ได้จากการขาดแผนระยะยาวนี้ยิ่งเสริมให้โครงการ

               ประชารัฐเข้าใกล้ความหมายของค าว่า ‘ประชานิยม’ ที่มีเป้าประสงค์ในระยะสั้นมากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น จากปัญหาของ

               การฝึกอาชีพที่กล่าวไว้ในส่วนของผลข้างเคียง อาจมีความเป็นไปได้ว่ามาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต อย่างน้อยที่สุดใน
               ระยะแรกที่ยังบกพร่องในหลายมิติ อาจเป็นการลดแรงเสียดทานต่อค าครหาของนักวิชาการจ านวนมากที่มองว่า

               โครงการนี้เป็นเพียงการ ‘แจกเงิน’

                       (3) ช่วงเวลาของการเพิ่มมาตรการเสริมส้าคัญในระยะสั น มาตรการเสริมที่ส าคัญ ได้แก่ มาตรการพัฒนา
               คุณภาพชีวิตของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั้งในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ดังที่กล่าวไปก่อนหน้าแล้วว่าปัญหาส าคัญของ

               การฝึกอาชีพมีอยู่หลายประการ ตั้งแต่ความต้องการในการฝึกอาชีพมีครบถ้วนเพียงพอหรือเหมาะสมกับตลาดเพียง

               พอที่จะให้ผู้ฝึกอาชีพส าเร็จไปแล้วเลี้ยงดูตนเองได้ในระยะยาวหรือไม่ ในทางกลับกัน หลังจากที่การฝึกอาชีพในระยะที่
               1 เสร็จสิ้นไปแล้ว ยังไม่มีการปรับฐานข้อมูลส าหรับผู้ที่เกินเกณฑ์ แต่กลับยืดระยะเวลาการให้สวัสดิการไปจนถึงเดือน

               มิถุนายน พ.ศ. 2562

                       อีกมาตรการที่ส าคัญก็คือมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเพิ่มเติมในช่วงปลายปี พ.ศ. 2561 ซึ่งประกอบด้วย
               4 มาตรการย่อย และมาตรการที่โดดเด่นก็คือการลดภาระค่าครองชีพในช่วงปลายปีคนละ 500 บาท ซึ่งเติมเข้ากระเป๋า

               เงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้มีบัตร รวมถึงการแบ่งส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเข้ากระเป๋าเงิน

               อิเล็กทรอนิกส์ในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน พ.ศ. 2562 เอกสารกระทรวงการคลังอ้างว่าเพื่อให้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
               สามารถน าเงินไปใช้ได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น กอปรกับภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ในทางกลับกัน ความร่วมมือกับ

               ธนาคารกรุงไทยเพื่อสร้างแอพพลิเคชันถุงเงินประชารัฐก็ส าเร็จลุล่วงไปตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 แล้ว เพราะเหตุ

               ใดจึงเปลี่ยนรูปแบบเป็นการให้กดเงินสดได้บางส่วน และให้กดเงินสดได้ในช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้ง (คนละ 500 บาท
               เพื่อลดภาระค่าครองชีพปลายปี) และระหว่างการเลือกตั้ง (200 และ 100 บาทส าหรับการแบ่งเข้ากระเป๋าเงิน

               อิเล็กทรอนิกส์ของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทุกคน) ตามล าดับ

                       กล่าวโดยสรุปคือช่วงเวลาของมาตรการเสริมต่าง ๆ ครอบคลุมช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้งและหลังจากการ
               เลือกตั้งเล็กน้อย ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนได้ นักวิชาการเองก็มีการตั้งข้อสังเกตคล้ายกันว่าการเปลี่ยน

               รูปแบบของวงเงินให้บัตรให้เป็นเงินสดอาจสะท้อนปัญหา 2 อย่างคือ ร้านธงฟ้าประชารัฐที่ต้องมีเครื่อง EDC ไม่ตอบ

               โจทย์เรื่องความครอบคลุม และ “เป็นการเอาใจผู้มีรายได้น้อย ตามนโยบายประชานิยม เพราะเป็นนโยบายระยะสั้น ๆ
               เพียงช่วง 4 เดือน สุดท้ายของปี ก่อนจะมีการเลือกตั้งในปีหน้า” (PPTV Online, สิงหาคม 2561) อย่างไรก็ตามจะต้อง

               ติดตามต่อไปว่าหลังจากเดือนเมษายนและเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 จะมีการปรับเปลี่ยนมาตรการในระยะสั้นหรือไม่

               อย่างไร
                       (4) ความพยายามรวบสวัสดิการไว้ที่บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ดังเช่นเนื้อหาในส่วนที่ 3.4.4 บัตรสวัสดิการแห่ง

               รัฐสามารถบันทึกข้อมูลจ านวนเงินไว้ในช่องต่าง ๆ (slot) ส าหรับจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน และโครงการบัตรสวัสดิการ

                                                               102
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116