Page 107 - kpiebook62001
P. 107
ประมาณการรายรับรายจ่ายของกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมจาก ภาพที่ 4.1
แสดงให้เห็นช่องโหว่ส าคัญเมื่อกองทุนขาดความโปร่งใส ในแง่รายรับ แม้ว่าจะเริ่มมีช่องทางในการผันเงินส่วนอื่นเป็นเงิน
บริจาคเข้ากองทุน เช่น การให้ผู้สูงอายุที่ไม่ต้องการรับเบี้ยคนชราสละสิทธิ์ได้ แต่ที่ผ่านมายังได้รับความร่วมมือค่อนข้าง
น้อย รายรับของกองทุนต้องพึ่งพางบประมาณประจ าปี แหล่งที่มาของเงินส าหรับการจัดท าโครงการบัตรสวัสดิการแห่ง
รัฐยังเกี่ยวข้องกับการออกแบบนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน การส่งเสริมให้คนมีรายได้เลี้ยงดูตนเอง
และครอบครัวได้ในระยะยาวย่อมแปรผกผันกับระดับงบประมาณที่จะต้องใช้ในการจัดสวัสดิการแบบเจาะจง การ
วางแผนระยะยาวและการประเมินสถานการณ์เพื่อพัฒนาโครงการจึงเป็นอีกขั้นตอนที่ส าคัญที่กระทรวงการคลังจะ
มองข้ามไม่ได้ ส่วนในด้านของรายจ่ายนั้น เงินสนับสนุนโครงการที่จัดสรรให้ผ่านหน่วยงาน มูลนิธิ และองค์กรการกุศล
จะเปิดช่องให้เกิดคอร์รัปชันได้หากการตรวจสอบกองทุนไม่สามารถท าได้อย่างโปร่งใส นอกจากนั้น ระบบประเมิน
กองทุนในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถประเมินความคุ้มค่าหรือผลกระทบต่อสังคมจากการใช้จ่ายได้
4.3 ลักษณะของโครงการและนัยทางการเมือง
จากที่ได้ระบุไว้ในส่วนต้นของบทนี้ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีจุดเริ่มต้นการด าเนินงานตั้งแต่ ‘โครงการ
ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ’ ชื่อของมาตรการหรือโครงการนั้นปรับเปลี่ยนเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นในปี พ.ศ. 2560 ที่
เริ่มต้นใช้บัตรก็มีการใช้เช่นชื่อต่าง ๆ เช่น ‘มาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ’ สุดท้ายคือค าว่า
‘ประชารัฐ’ เริ่มปรากฏในโครงการดังกล่าวเมื่อมีแนวคิดในการจัดตั้ง ‘กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐาน
ราก’ ในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 จนกระทั่งตราพระราชบัญญัติการจัดประชารัฐสวัสดิการออกมาอย่างเป็น
ทางการเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562
หากสืบค้นจากมติคณะรัฐมนตรี ค าว่า ‘ประชารัฐ’ เริ่มปรากฎในช่วงปลายปี พ.ศ. 2558 ถึงต้นปี พ.ศ. 2559
เอกสารที่พยายามอธิบายความหมายของค าว่า ประชารัฐ คือเอกสารการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.
2559 เรื่อง ‘กลไกประชารัฐ’ จากส านักนายกรัฐมนตรีเพื่อชี้แจงว่ารัฐบาล คสช. ต้องการใช้กลไกประชารัฐในการ
ขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมีข้อความกล่าวถึงบทบาทและความเชื่อมโยงของภาคส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
“๑. ความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน/ภาคประชาสังคม โดยทั้ง ๓
ภาคส่วนจะสนับสนุนเชื่อมโยงการท างานระหว่างกัน
๒. การขับเคลื่อนประชารัฐแบบบูรณาการ แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ
๒.๑ ระดับนโยบาย โดยมีคณะรัฐมนตรีให้นโยบายในการขับเคลื่อน
๒.๒ ระดับการขับเคลื่อน โดยมีกระทรวงและคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหาร
ราชการแผ่นดิน ๖ คณะ เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน
๒.๓ ระดับปฏิบัติ แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ (๑) ภาครัฐ (๒) ภาคเอกชน (๓) ภาคประชาชน/ประชา
สังคม
98