Page 109 - kpiebook62001
P. 109

มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือไม่เพราะไม่มีข้อมูลของการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และมีเพียงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               เท่านั้นที่มีข้อมูลของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยได้ท าตั้งข้อสังเกตจากลักษณะการด าเนินโครงการ
               ที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับนัยทางการเมืองดังต่อไปนี้

                       (1) บัตรสวัสดิการแห่งรัฐเข้าถึงคนจ้านวนมาก ปัจจุบันมีผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐประมาณ 11.4 ล้านคนจาก

               การลงทะเบียนในปี พ.ศ. 2560 รวมกับประมาณ 3.1 ล้านคนจากการส่งทีมไทยนิยม ยั่งยืน เพื่อลงพื้นที่ให้ผู้พิการ
               ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ได้ลงทะเบียนเพิ่มเติมเป็นประมาณ 14.5 ล้านคน สัดส่วนของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เทียบกับ

               ประชากรไทยคิดเป็นประมาณร้อยละ 22 และเทียบกับจ านวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ประมาณ 51.7 ล้านคน) คิดเป็น

               ประมาณร้อยละ 28 ซึ่งเป็นสัดส่วนค่อนข้างสูง นอกจากนั้น คุณสมบัติหนึ่งในการขอรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐคือจะต้องมี
               อายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยส่วนใหญ่

                       นอกจากนั้น ช่วงเวลาในการเปิดรับลงทะเบียนก็มีความน่าสนใจ ในปี พ.ศ. 2559 ได้มีการก าหนดในเอกสารที่

               เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้เปิดรับลงทะเบียนทุกปีในช่วงเดือนกันยายนก่อนเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ อย่างไรก็ตาม
               โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐในปี พ.ศ. 2560 ได้เปิดรับลงทะเบียนตั้งแต่เดือนเมษายน และไม่มีการเปิดรับ

               ลงทะเบียนเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2561 แต่ยังคงสิทธิส าหรับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2560 ซึ่งท าให้

               จ านวนผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2560 ไม่เปลี่ยนแปลงหรือยังคงไว้ที่ 11.4 ล้าน และจากการลงพื้นที่ของ
               ทีมไทยนิยม ยั่งยืน (ซึ่งผู้มีสิทธิจากโครงการนี้ได้รับบัตรในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 และเริ่มใช้งานบัตรได้ในเดือน

               มกราคม พ.ศ. 2562) ก็ท าให้จ านวนผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มขึ้นเป็น 14.5 ล้านคน ตัวเลขดังกล่าวไม่เปลี่ยนแปลง

               มาจนถึงช่วงเวลาของการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 รัฐบาลมีเหตุอันใดจึงไม่เก็บข้อมูลของผู้มีรายได้น้อยอีก
               ครั้งในช่วงปี พ.ศ. 2561

                       ยิ่งไปกว่านั้น ผลการด าเนินงานมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตระยะที่ 1 ได้ระบุไว้ชัดเจนว่ามีกลุ่มผู้เข้าร่วมการ

               ฝึกอาชีพจ านวน 1.45 ล้านคนที่มีรายได้เกิน 30,000 บาทต่อปี และอีก 115,116 คนมีรายได้เกินกว่า 100,000 บาทต่อ
               ปี ซึ่งเกินเกณฑ์ของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแล้ว (ตัวเลขดังกล่าวอาจเป็นเพียงการคาดการณ์เนื่องจากข้อมูลมาจาก

               เอกสารหลักการและเหตุผลเพื่อเสนอมาตรการฯ ดังกล่าวในระยะที่ 2 ซึ่งมีระยะห่างจากระยะที่ 1 ไม่ถึง 1 ปี) เหตุใด

               มาตรการฯ ในระยะที่ 2 จึงยังใช้ตัวเลขผู้ฝึกอาชีพเดิม โดยไม่มีการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการที่ได้รับของผู้ที่มี
               รายได้เกิน 30,000 บาทต่อปี และไม่มีการตัดสิทธิผู้ที่มีรายได้เกินกว่า 100,000 บาทต่อปี พร้อมทั้งยังให้สวัสดิการคง

               เดิมบวกกับจ านวนเงินเพิ่มเติมจากการเข้ารับการฝึกอาชีพไปจนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562

                       (2) โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่มีการวางแผนในระยะยาว ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการลงทะเบียนเพื่อ
               สวัสดิการแห่งรัฐในปี พ.ศ. 2559 เอกสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือพระราชบัญญัติการจัด

               ประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมก็ตาม กลับไม่ได้มีการก าหนดทิศทางของโครงการอย่างชัดเจน ทั้งใน

               ด้านเกณฑ์ผู้มีสิทธิได้รับบัตร การเปิดลงทะเบียนในอนาคต ทิศทางของการก าหนดและจัดสรรสวัสดิการในระยะยาว อีก
               ทั้งเมื่อมีการจัดตั้งกองทุนฯ แล้วยังเปิดช่องให้คณะกรรมการฯ กองทุนฯ ด าเนินงานตามที่เห็นสมควร แม้ว่าจะต้องผ่าน




                                                               100
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114