Page 110 - kpiebook62001
P. 110
ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก็ตาม สังเกตได้จากพระราชบัญญัติการจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานราก
และสังคม มาตรา 3 และมาตรา 8 ดังนี้
“มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“ประชารัฐสวัสดิการ” หมายความว่า สวัสดิการที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการลดความเหลื่อมล้ าเพิ่ม
ศักยภาพให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสนับสนุนโครงการที่ให้บริการทางสังคม
แก่ประชาชน โดยมีการด าเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน อันจะเป็นการ
แก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างยั่งยืน
“โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ” หมายความว่า โครงการที่กระทรวงการคลังก าหนดให้
ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่มีคุณสมบัติมาลงทะเบียน เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดประชารัฐสวัสดิการที่
เป็นการให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม.....”
“มาตรา ๘ คณะกรรมการมีหน้าที่และอ านาจ ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอนโยบาย แผนการด าเนินงาน มาตรการหรือโครงการเกี่ยวกับประชารัฐสวัสดิการที่เป็นการให้
ความช่วยเหลือในการด ารงชีพและเพิ่มศักยภาพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยตามโครงการลงทะเบียน
เพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยการสนับสนุน
ค่าใช้จ่ายบางส่วนที่จ าเป็น ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
(๒) พิจารณาการสนับสนุนโครงการที่ให้บริการทางสังคมที่จัดท าขึ้นโดยหน่วยงานของเอกชน มูลนิธิ
หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในภาวะล าบากทุกประเภท เสนอคณะรัฐมนตรี
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การเสนอโครงการให้เป็นไปตามระเบียบที่
คณะกรรมการก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
(๓) จัดให้มีฐานข้อมูลของประชาชนผู้มีรายได้น้อยซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติในโครงการ
ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เพื่อใช้ในการจัดประชารัฐสวัสดิการการ
ก ากับดูแล การบริหารจัดการ และการประเมินผลการด าเนินการ ได้อย่างเหมาะสม.....”
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าแนวคิดสวัสดิการที่เจาะจงไปยังผู้มีรายได้น้อยโดยตรงอาจยังไม่มีการด าเนิน
นโยบายในประเทศไทยอย่างจริงจังเท่าในปัจจุบันสืบเนื่องจากปัญหาความพร้อมด้านต่าง ๆ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐอาจ
เป็นโครงการ ‘ทดลอง’ ขนาดใหญ่ แต่เป็นการทดลองที่มี ‘ต้นทุน’ สูง เพราะการออกมาตรการหลักหรือมาตรการเสริม
ในแต่ละครั้งค่อนข้างฉับพลัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการท างานของผู้ปฏิบัติการดังที่ได้กล่าวไว้ในส่วนก่อนหน้า อีกทั้งยัง
101