Page 141 - kpiebook62001
P. 141

5.3 บทสรุป


                       ในบทนี้ของงานวิจัย คณะวิจัยได้ท าการส ารวจกรณีศึกษาในสองลักษณะ ในส่วนแรก คณะวิจัยหยิบเอา

               กรณีศึกษาการด าเนินงานนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนในประเทศก าลังพัฒนาสามประเทศ คือ อินโดนีเซีย
               อินเดีย และจีน มาส ารวจเพื่อหาบทเรียน และในส่วนที่สอง คณะวิจัยหยิบเอาภาพรวมของระบบสวัสดิการในสอง

               ประเทศ คือ สหราชอาณาจักรและสวีเดน มาเพื่อส ารวจนัยยะของการจัดวางสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนในภาพรวม

               ของระบบสวัสดิการทั้งหมด
                       การศึกษาสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนในอินโดนีเซีย อินเดีย และจีนพบถึงข้อจ ากัดส าคัญของการด าเนิน

               นโยบายในลักษณะนี้หลายประการ ทั้งสามประเทศมีการประยุกต์ใช้สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนในรูปแบบแตกต่าง

               กัน เช่น อินโดนีเซียและอินเดียมีการใช้ฐานข้อมูลคนจนที่เก็บโดยรัฐในการเจาะจง คล้ายกับในกรณีบัตรสวัสดิการแห่ง
               รัฐของประเทศไทย แต่ในหลายนโยบายก็มีการผสมเอากระบวนการชุมชนเข้ามาร่วมคัดกรองผู้ได้รับสวัสดิการ ส าหรับ

               จีนจะเน้นการเจาะจงที่พื้นที่ยากจน และให้รัฐบาลจัดสรรเงินทุนไปพัฒนาพื้นที่เหล่านั้นเป็นหลัก

                        แต่ไม่ว่าจะใช้การเจาะจงที่คนจนในรูปแบบใด ก็ล้วนต้องเผชิญกับข้อจ ากัดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การเจาะจงที่
               ครัวเรือนยากจนโดยตรงผ่านการเก็บข้อมูลโดยรัฐ ต้องเผชิญข้อจ ากัดที่เกิดจากความผิดพลาดในการเก็บข้อมูล

               ประสบการณ์จากกรณีศึกษาสะท้อนว่าเราไม่อาจคาดหวังให้ข้อมูลนั้นมีความแม่นย าได้เนื่องจากยังมีปัจจัยมนุษย์ใน

               กระบวนการเก็บข้อมูลที่สร้างความคลาดเคลื่อนได้เสมอ การจัดสรรสวัสดิการด้วยกระบวนการของชุมชนก็เช่นกันที่ต้อง
               เผชิญกับปัญหาจากสภาพอ านาจที่ไม่ทัดเทียมของคนในชุมชน ผู้น าชุมชนหรือกรรมการอาจน าเอาเป้าหมายของตนเอง

               เข้ามาผสมกับเป้าหมายโครงการจนลดทอนความสามารถในการจัดสรรสวัสดิการไปสู่คนยากจน แม้กระทั่งกรณีของจีน

               ที่ใช้การเจาะจงผ่านพื้นที่ เป้าหมายทางการเมืองก็เข้ามาส่งผลบิดเบือนการคัดเลือกพื้นที่ยากจนได้ นอกจากนี้
               กรณีศึกษาทั้งหมดยังชี้ให้เป็นปัญหาการรั่วไหลของทรัพยากรผ่านการบริหารจัดการเป็นอีกประเด็นปัญหาส าคัญ

               โดยเฉพาะการคอร์รัปชัน บทเรียนจากกรณีศึกษาชี้ให้เห็นว่าสวัสดิการแบบเจาะจงมาพร้อมกับต้นทุนในตนเองเช่นกัน

               โดยต้นทุนที่ส าคัญไม่เพียงแต่อยู่ที่กระบวนการเจาะจง แต่ยังอยู่ที่ข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่จะจ ากัดศักยภาพการช่วยเหลือ
               คนยากจน การใช้สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนจึงควรค านึงต้นทุนของปัญหาเหล่านี้ตามความเป็นจริง ไม่มองเพียงแต่

               ประโยชน์ที่จะได้จากการลดต้นทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับนโยบายสวัสดิการ

                        ส าหรับกรณีศึกษาภาพรวมของระบบสวัสดิการนั้น การเลือกสหราชอาณาจักรและสวีเดนมาเป็นกรณีศึกษาก็
               เพื่อให้เป็นตัวแทนของระบบสวัสดิการสองรูปแบบส าคัญ คือระบบสวัสดิการแบบเสรีนิยมที่เน้นการใช้นโยบาย

               สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน และระบบสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตยที่เน้นการใช้นโยบายสวัสดิการแบบ

               ถ้วนหน้า การเปรียบเทียบระบบสวัสดิการทั้งสองประเทศพบว่าความแตกต่างส าคัญอยู่ที่รูปแบบสวัสดิการที่ให้กับเด็ก
               และคนชรา โดยสหราชอาณาจักรใช้สวัสดิการแบบเจาะจงกับคนสองกลุ่มนี้มากกว่าสวีเดนที่เน้นสวัสดิการแบบถ้วนหน้า

               ให้กับคนกลุ่มเดียวกัน ความแตกต่างนี้น ามาซึ่งนัยยะส าคัญต่อการท างานของผู้หญิง โดยระบบสวัสดิการแบบสวีเดน





                                                               132
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146