Page 146 - kpiebook62001
P. 146
บทที่ 6
สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะส้าหรับนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
จากการศึกษาตั้งแต่กรอบคิดในการจัดสวัสดิการ ความเป็นมาของการจัดสวัสดิการในประเทศ ที่มาและปัญหา
ของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไปจนถึงประสบการณ์ในการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ าใน
ต่างประเทศ คณะวิจัยสรุปและมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
6.1 สรุปผลการศึกษา
(1) ข้อค้นพบเรื่องที่มาและแนวคิดของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
นโยบายสวัสดิการในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยมากอิงอยู่บนฐานคิดแบบเสรีนิยมใหม่
นอกเหนือจากสวัสดิการในลักษณะอื่นที่เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน อย่างเช่นกองทุนประกันสังคมที่จัดตั้ง
ขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการที่ยึดโยงกับการท างาน โครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ครอบคลุมประชากรทั่วทั้งประเทศ
ฐานคิดนี้แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยส าคัญ เพราะนโยบายสวัสดิการส่วนใหญ่ยังเป็นรูปแบบการช่วยเหลือแบบ
สงเคราะห์ ช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสหรือกลุ่มที่ขาดความสามารถในการท างาน ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐซึ่งเป็นผู้
จัดสรรให้กับผู้ได้รับการจัดสรรยังคงอยู่ในปัจจุบันแม้จะไม่ได้มีลักษณะในแนวตั้งเหมือนในอดีต
ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายสวัสดิการที่เกิดขึ้นหลายโครงการเกิดขึ้นได้เพราะแรงจูงใจในด้านอื่น ๆ ช่วยท าให้ฐานคิด
แบบเสรีนิยมใหม่ชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพยายามบรรเทาปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ท าให้ต้องผันเงินสู่
ชนบทมากขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2518 การดึงดูดแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมผ่านการสร้างผลบังคับใช้ของกฎหมาย
ประกันสังคมในปี พ.ศ. 2533 โดยจุดประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตและการส่งออกสินค้าของไทยไปสู่ประเทศ
อุตสาหกรรมใหม่ เป็นต้น
โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐก็มีฐานคิดแบบเสรีนิยมไม่แตกต่างกัน ตัวโครงการที่เน้นไปที่ประสิทธิภาพของ
การใช้จ่ายภาครัฐ การใช้ศักยภาพของประเทศอย่างเต็มที่โดยการจูงใจให้คนเข้าสู่ตลาดแรงงาน การกระตุ้นเศรษฐกิจ
และรักษาเสถียรภาพในระดับมหภาคผ่านการใช้จ่ายฐานราก มีที่มาคล้ายคลึงกับนโยบายภาษีติดลบหรือ Negative
Income Tax ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งฝ่ายเสรีนิยมต่างเห็นด้วยกับนโยบายลักษณะนี้เพราะไม่ถือว่าเป็นการ
15
แทรกแซงตลาด สอดคล้องกับสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ าในประเทศไทย กอปรกับความต้องการ
15 การแทรกแซงตลาดหมายถึงการบิดเบือนราคาหรือปริมาณสินค้าในตลาดให้คลาดเคลื่อนไปจากการปล่อยให้ผู้ซื้อและผู้ขาย
แลกเปลี่ยนกันด้วยราคาและปริมาณดุลยภาพ คณะวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าการให้เงินผู้มีรายได้น้อยก็ถือว่าเป็นการแทรกแซงตลาดรูปแบบ
หนึ่งได้ เพราะจะช่วยกระตุ้นยอดขายของสินค้าบางประเภทในร้านธงฟ้าประชารัฐ
137