Page 136 - kpiebook62001
P. 136

รายได้ นอกจากนี้ ระบบสวัสดิการในสวีเดนยังมีลักษณะเด่นที่การสนับสนุนให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้มีโอกาสท างาน

               โดยเฉพาะผู้หญิง

                       (1) เส้นทาง

                       พัฒนาการของระบบสวัสดิการในสวีเดนนั้นยึดโยงอยู่กับชีวิตความเป็นอยู่ที่เท่าเทียมกันของประชาชน

               นอกจากการให้สวัสดิการที่มากพร้อมอัตราภาษีที่สูงแล้ว ลักษณะส าคัญอีกประการของเศรษฐกิจสวีเดนคือแนวทางการ

               เปิดเสรีการค้า โดยเศรษฐกิจสวีเดนถูกขับเคลื่อนจากบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ การเน้นการส่งออก ระบบสวัสดิการ
               สวีเดนนั้นจึงพัฒนามาพร้อมกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับโลกาภิวัฒน์ (Kazenstien, 1985)

                        เช่นเดียวกับสหราชอาณาจักร ระบบสวัสดิการของสวีเดนขยายตัวอย่างเป็นส าคัญในช่วงหลังสงครามโลกครั้ง

               ที่สอง นโยบายสวัสดิการในลักษณะที่คล้ายกันกับที่เสนอในรายงานของเบเวอร์ริจถูกน ามาใช้เช่นกันในสวีเดน เช่น
               ระบบประกันสังคม โดยสวีเดนเริ่มเน้นระบบสวัสดิการที่ให้สิทธิประโยชน์อย่างเสมอกันกับประชาชน (flat rate

               benefits) และให้ระบบเช่นนี้ได้รายได้มาจากเงินภาษี สวัสดิการแบบถ้วนหน้าถูกน ามาใช้กับสวัสดิการส าหรับเด็กและ

               คนชรา (Palme, 2017)
                        ส าหรับสวัสดิการส าหรับคุ้มครองแรงงานนั้น ลักษณะส าคัญของระบบสวัสดิการที่พัฒนาในสวีเดนอยู่ที่การไม่

               แบ่งแยกการบริหารจัดการไปตามกลุ่มแรงงานที่แตกต่างกัน แม้จะยึดโยงสิทธิประโยชน์กับรายได้ของแรงงานแต่ก็

               จัดการภายใต้ระบบเดียวกันทั้งหมด ในขณะที่ระบบสุขภาพได้รับการพัฒนาเป็นระบบดูแลสุขภาพแบบถ้วนหน้า
               เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นที่สหราชอาณาจักร

                        ลักษณะส าคัญที่ช่วยผลักดันให้ระบบสวัสดิการในสวีเดนท างานได้ นอกจากอัตราภาษีที่สูงแล้ว ก็คือการ

               สนับสนุนให้ประชาชนท างาน โดยเฉพาะผู้หญิง สวีเดนสนับสนุนให้ทั้งหญิงและชายในครอบครัวต่างร่วมกันหารายได้
               การสนับสนุนเกิดขึ้นผ่านกลไกภาษีเช่นไม่มีการเก็บภาษีร่วมของคู่สมรส การมีสวัสดิการที่ดีในการช่วยเหลือเด็กและ

               คนชรา ที่ช่วยท าให้ผู้หญิงมีอิสระในการหารายได้ได้ เมื่อประกอบกับการส่งเสริมการศึกษาให้ผู้หญิง ระบบสวัสดิการใน

               สวีเดนจึงมีที่มาของรายได้หล่อเลี้ยงจากแรงงานเพิ่ม  และแม้จะมีข้อวิพากษ์ถึงต้นทุนของระบบสวัสดิการของสวีเดน แต่
               ที่จริงแล้วต้นทุนดังกล่าวไม่ได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของยุโรปมาก ปัจจัยส าคัญที่ช่วยจ ากัดต้นทุนนี้ก็คือการที่สวีเดนตั้งอายุที่จะ

               ได้บ านาญอย่างเป็นทางการไว้ค่อนข้างสูง รวมถึงมีสวีเดนยังมีอัตราการว่างงานที่ต่ าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ

               ในยุโรป (Palme, 2017)
                        ในด้านการบริหารจัดการสวัสดิการนั้น สวีเดนผสมผสานการจัดการระบบจากรัฐบาลส่วนกลางเข้ากับรัฐบาล

               ท้องถิ่น โดยรัฐบาลกลางมีบทบาทในการดูแลการคุ้มครองแรงงาน และสวัสดิการถ้วนหน้าอื่น ๆ โดยใช้เงินภาษี

               ส่วนกลางสนับสนุน ในขณะที่รัฐบาลท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการจัดการสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือ
               ประชาชนกลุ่มที่เผชิญสภาวะเปราะบาง (vulnerable groups) ผ่านการใช้ภาษีที่เก็บในระดับท้องถิ่น

                        อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านช่วงปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกในทศวรรษ 1970 ระบบสวัสดิการในสวีเดนก็

               เผชิญกับข้อวิพากษ์จากมุมมองเสรีนิยมใหม่ไม่ต่างไปจากประเทศอื่น ๆ และการเปลี่ยนแปลงส าคัญเกิดขึ้นในเวลาต่อมา


                                                               127
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141