Page 152 - kpiebook62001
P. 152
เปรียบเทียบกับโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแล้ว จะพบว่าโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐยังมีขนาดของสวัสดิการที่
ค่อนข้างน้อย ท าให้ส่งผลหลักเพียงช่วยลดความล าบากของครัวเรือนยากจน นอกจากนี้ การจัดเงื่อนไขที่มาพร้อมกับ
สวัสดิการก็ยังเป็นเพียงการให้ผู้ได้รับสวัสดิการได้รับการฝึกทักษะใหม่ ซึ่งนอกจากเสี่ยงจะไม่ตรงความต้องการของ
แรงงานและผู้จ้างแล้วยังมีความไม่แน่นอนสูงว่าทักษะนั้น ๆ จะถูกน าไปยกระดับอาชีพเดิมได้ การสร้างเงื่อนไขจึงเป็น
หนึ่งในแง่มุมที่โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะสามารถเข้ามาวางแผนปรับปรุงให้เกิดผลลัพธ์ในการยกระดับฐานะกับ
คนยากจนได้จริงมากขึ้น
ข้อเสนอแนะที่ส าคัญมากขึ้นไปในการโยงโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับการลดความเหลื่อมล้ าก็คือจะจัดวาง
นโยบายเช่นนี้อย่างไรในระบบสวัสดิการ ข้อที่ควรระวังมากที่สุดก็คือการขยายบทบาทของโครงการให้รวมเอาชนิด
สวัสดิการเพี่มเข้ามา โดยยังไม่ได้ค านึงถึงผลต่อศักยภาพการลดความเหลื่อมล้ าในภาพรวมของระบบสวัสดิการอย่าง
เพียงพอ การจะท าให้ระบบสวัสดิการเอื้อต่อการลดความเหลื่อมล้ านั้น ควรพิจารณาใช้สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน
ประกอบกันไปกับสวัสดิการแบบถ้วนหน้า โดยควรเลือกว่าสวัสดิการที่ต้นทุนของการหลุดจากการเจาะจงนั้นสูง หรือมี
ศักยภาพในการสนับสนุนปัจจัยลดความเหลื่อมล้ าเช่นช่วยในการท างานของผู้หญิง ก็ควรเป็นให้แบบถ้วนหน้า
นอกจากนี้ ควรพิจารณาว่าการจะขยับฐานะของคนยากจนได้นั้นจ าเป็นจะต้องมองถึงโอกาสในการเพิ่มรายได้เช่นกัน
ไม่ใช่เพียงการบรรเทาปัญหาความยากจน รัฐบาลจึงไม่ควรละเลยนโยบายสร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ส าหรับคน
ยากจน เช่น การมีทุนรอนส าหรับการประกอบอาชีพ ค่าจ้างขั้นต่ าที่สูงเพียงพอ รวมไปถึงโอกาสในการขายสินค้าโดยไม่
ถูกเอารัดเอาเปรียบจากทุนรายใหญ่
สุดท้าย การจัดการต่อมุมมองของชนชั้นกลางต่อนโยบายสวัสดิการเป็นสิ่งที่ส าคัญมาก โครงการเช่นบัตร
สวัสดิการแห่งรัฐควรต้องค านึงว่าจะจัดการมุมมองต่อโครงการจากสังคมเช่นไรไม่ให้กลายเป็นต้นตอของความไม่พอใจ
ต่อระบบสวัสดิการ โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นกลางที่อาจมองโครงการด้วยมุมมองด้านลบอยู่ในปัจจุบัน เพื่อไม่ให้ความไม่
พอใจนี้ขยับขยายต่อไปเป็นความไม่พอใจต่อระบบสวัสดิการทั้งระบบ อันจะน าไปสู่เส้นทางที่ยากจะท าให้ระบบ
สวัสดิการโดยรวมสามารถขยับขยายได้เพียงพอที่จะมีศักยภาพในการลดความเหลื่อมล้ า
143