Page 149 - kpiebook62001
P. 149
ระดับการบริหารจัดการหรือระดับการก าหนดนโยบาย ทั้งนี้ความท้าทายในแง่มุมทรัพยากรรั่วไหลอาจถูกคลี่คลายไปได้
ด้วยการสร้างความโปร่งใสให้กับกระบวนการ รวมถึงเปิดช่องทางในการตรวจสอบนโยบาย
ภาพรวมของกรณีศึกษาการด าเนินนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนในประเทศก าลังพัฒนาชี้ให้เห็นว่า
สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนนั้นไม่ได้ปราศจากต้นทุน แต่กลับมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเมื่อประกอบกับกลไก
รัฐที่ยังไม่ได้มีประสิทธิภาพ การจะบริหารสวัสดิการประเภทนี้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้ โดยเฉพาะให้การเจาะจงไปถึงคนจน
ได้จริงโดยที่ทรัพยากรไม่รั่วไหล จ าเป็นจะต้องมีการลงทุนอย่างจริงจังจากภาครัฐในการพัฒนาระบบข้อมูล การวางแผน
ให้ยืดหยุ่นได้ตามความหลากหลายของสภาพความยากจน และการติดตามการบริหารที่เข้มข้น
แต่การเลือกสวัสดิการแบบเจาะจงที่จนก็เป็นเพียงทางเลือกเดียวเท่านั้นในการใช้สวัสดิการลดความเหลื่อมล้ า
กรณีศึกษาภาพรวมการด าเนินนโยบายสวัสดิการของสหราชอาณาจักรและสวีเดนแสดงให้เห็นว่าความเชื่อมโยงระหว่าง
ระบบสวัสดิการและการลดความเหลื่อมล้ าเกิดขึ้นผ่านปัจจัยที่กว้างกว่าต้นทุนและประสิทธิภาพของระบบสวัสดิการ แต่
เชื่อมโยงกับปัจจัยที่กว้างกว่านั้น สวัสดิการที่เน้นการให้แบบถ้วนหน้าของสวีเดนสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ าได้ด้วย
การเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้อยู่ในการท างาน การดึงเอาคนชั้นกลางเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผู้ได้รับประโยชน์จากสวัสดิการ
ยังเป็นลักษณะส าคัญที่ท าให้ระบบสวัสดิการของสวีเดนได้รับแรงสนับสนุนจนสามารถให้สวัสดิการในระดับที่มากขึ้นได้
ลักษณะเหล่านี้ต่างไปจากระบบสวัสดิการในสหราชอาณาจักร ซึ่งเน้นการให้สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน ด้วยเหตุผล
หลักคือการมุ่งเน้นการลดต้นทุนของระบบสวัสดิการ แต่การเข้าสู่กรอบวิธีคิดเช่นนี้ก็ท าให้ระบบสวัสดิการของสหราช
อาณาจักรหดตัวลงอย่างต่อเนื่องพร้อม ๆ กับความเหลื่อมล้ าที่เพิ่มขึ้น มุมมองหลักต่อระบบสวัสดิการของสหราช
อาณาจักรยังคงเป็นการมุ่งตีตราผู้ได้รับสวัสดิการที่ไม่ได้กลับสู่การท างานว่าเป็นภาระ รวมถึงพยายามจ ากัดขนาดของ
สวัสดิการต่อคนกลุ่มดังกล่าว
กรณีศึกษาการด าเนินนโยบายสวัสดิการในภาพรวมชี้ให้เห็นว่าการจะเลือกใช้สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนควร
ค านึงถึงการผสมผสานกับนโยบายสวัสดิการอื่น ๆ โดยไม่มองเป้าหมายให้อยู่เพียงการลดต้นทุนของระบบสวัสดิการ แต่
ควรมองถึงประโยชน์โดยรวมที่จะได้จากการออกแบบสวัสดิการโดยรวมให้สนับสนุนสภาพที่เอื้อต่อการลดความเหลื่อม
ล้ า ตัวอย่างเช่น การท างานของผู้หญิง สภาพเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดจากระบบสวัสดิการโดยตรงแต่ก็เป็นสภาพที่ควรค้นหา
ว่าท างานอย่างไร และควรให้ความส าคัญ นอกจากนี้ ยังควรรักษาช่องทางที่ระบบสวัสดิการจะครอบคลุมคนอื่น ๆ ที่
ไม่ใช่เพียงคนจน เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของระบบสวัสดิการจากคนกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะชั้นกลาง
6.2 ข้อเสนอแนะส้าหรับโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
(1) การทบทวนฐานคิดเริ่มต้นในการจัดสวัสดิการ
ฐานคิดในการจัดสวัสดิการเป็นส่วนที่คณะวิจัยเห็นว่ามีความส าคัญอย่างยิ่ง แต่ยังขาดความชัดเจนและไม่ตอบ
โจทย์การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ า การทบทวนฐานคิดจะเป็นสิ่งที่ก าหนดทิศทางการออกแบบโครงการสวัสดิการใน
ภาพใหญ่ และข้อเสนอแนะข้างต้นก็จะต้องย้อนกลับมาที่เรื่องการทบทวนฐานคิดเสมอ ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือโครงการ
140