Page 148 - kpiebook62001
P. 148
(3) ข้อค้นพบจากกรณีศึกษา
การส ารวจกรณีศึกษาการด าเนินนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนในประเทศก าลังพัฒนาสามประเทศ
ประกอบด้วย อินโดนีเซีย อินเดีย และจีน แสดงให้เห็นภาพที่กว้างขึ้นของการเลือกใช้สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนว่า
จะต้องเผชิญความท้าทายพื้นฐานใดบ้าง และจะมีหนทางก้าวข้ามความท้าทายเหล่านั้นอย่างไร การส ารวจพบความท้า
ทายในอย่างน้อยสามแง่มุม ประกอบด้วย การสร้างฐานข้อมูล การออกแบบและบริหาร และท้ายที่สุดคือการรั่วไหลของ
ทรัพยากร
ประการแรก ความท้าทายในการสร้างฐานข้อมูลเป็นแง่มุมประเทศที่เป็นกรณีศึกษาทั้งสามประเทศประสบ
คล้ายกัน ประเทศเช่นอินโดนีเซียและอินเดียต่างก็พยายามสร้างฐานข้อมูลความยากจนเพื่อเป็นฐานให้กับการด าเนิน
นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจง แต่ก็พบว่าฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นนั้นมักจะไม่ได้ละเอียดเพียงพอ มากไปกว่านั้น ข้อมูลที่
เก็บก็ยังมักจะไม่สมบูรณ์เพราะกระบวนการส ารวจยังมีข้อบกพร่องหรือล่าช้า ส าหรับประเทศเช่นจีนนั้นแม้เลือกใช้
ข้อมูลเพียงระดับพื้นที่ในการเจาะจง ก็ยังเผชิญปัญหาว่าการเลือกเจาะจงตามพื้นที่ที่ยากจนก็มาพร้อมข้อจ ากัดในการ
เข้าถึงคนยากจนได้ครบถ้วน ความท้าทายที่ยากขึ้นไปอีกขึ้นหนึ่งก็คือการพัฒนาฐานข้อมูลให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงใน
สถานะทางเศรษฐกิจของคนยากจน ซึ่งต้องอาศัยการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ความท้าทายเหล่านี้แม้จะแก้ไขได้ด้วยการ
ลงทุนกับการพัฒนาฐานข้อมูลมากขึ้น แต่การท าเช่นนั้นก็หมายถึงการเพิ่มต้นทุนให้กับนโยบายเช่นกัน
ประการที่สอง การออกแบบและบริหารนโยบายให้ได้ผลตามเป้าหมาย แม้แต่เป้าหมายพื้นฐานเช่นการกระจาย
ประโยชน์ให้ถึงคนจน ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน ในกรณีศึกษาทั้งสามกรณีจะพบว่าการบริหารงานสวัสดิการแบบเจาะจง
มักจะเผชิญกับความหลากหลายแตกต่างในแต่ละพื้นที่ ตัวอย่างเช่น สภาวะความยากจนของบริบทที่แตกต่างกันอย่าง
เมืองและชนบท ความแตกต่างเหล่านี้ท าให้นโยบายควรถูกปรับเปลี่ยนรายละเอียดไปตามพื้นที่และกลุ่มคนได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องยอมรับว่าการท าเช่นนั้นก็อาจน าไปสู่การเพิ่มต้นทุนการบริหารโครงการ นอกจากนี้ ปัญหาส าคัญอีก
ประการก็คือการที่ผู้ด าเนินนโยบายอาจน าเอาเป้าหมายอื่น ๆ เข้ามาผสมกับการกระจายสวัสดิการให้คนจน
ตัวอย่างเช่น มุ่งไปที่การสร้างผลตอบแทนจากเงินกองทุนที่ช่วยเหลือคนยากจน หรือกระจายผลประโยชน์ไปที่คน
จ านวนมากโดยไม่ได้มุ่งหาคนยากจนที่สุด ความท้าทายในลักษณะนี้อาจแก้ไขได้ด้วยการก ากับดูแลการบริหารนโยบายที่
เข้มข้นขึ้น
ประการสุดท้าย คือปัญหาทรัพยากรรั่วไหล กรณีศึกษาของอินเดียและอินโดนีเซียชี้ให้เห็นว่านโยบายสวัสดิการ
แบบเจาะจงนั้นต้องเผชิญความเสี่ยงต่อปัญหาคอร์รัปชันจากผู้ด าเนินนโยบายหลายประการ เช่น การติดสินบน
เจ้าหน้าที่ การแสวงหาประโยชน์จากเงินช่วยเหลือคนจน ในขณะที่กรณีศึกษาของจีนแสดงให้เห็นว่าการเลือกพื้นที่
ยากจนนั้นอาจถูกแทรกแซงด้วยอิทธิพลทางการเมืองได้ ซึ่งอาจนับได้เป็นบิดเบือนเป้าหมายนโยบายเพื่อตอบเป้าหมาย
ทางการเมือง จะเห็นได้ว่าปัญหาเหล่านี้ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะว่ากระบวนการเจาะจงนั้นมาพร้อมกับอ านาจในการ
จัดสรรประโยชน์ อาจกล่าวได้ว่ากระบวนการนี้มีค่าเช่าทางเศรษฐกิจที่เปิดทางให้เกิดการคอร์รัปชันได้เสมอ ไม่ว่าจะใน
139