Page 151 - kpiebook62001
P. 151
รายได้ที่ยั่งยืนหรือไม่ ควรต้องมีการศึกษาในเรื่องนี้เพิ่มเติมเพื่อที่จะสร้างแรงจูงใจให้ผู้มีบัตรเปลี่ยนอาชีพหรือเข้าร่วม
โครงการมากขึ้น หากโครงการฝึกอาชีพประสบความส าเร็จจริง
ประการที่สาม ทบทวนเรื่องการจัดสรรงบประมาณประจ าปี และจัดตั้งกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อ
เศรษฐกิจฐานรากและสังคมว่าตัวโครงการนี้มีความจ าเป็นมากน้อยเพียงใดที่จะต้องใช้เงินจากกองทุน นอกเหนือจาก
ความคล่องตัวที่ไม่ต้องผูกยึดอยู่กับระเบียบราชการในการเบิกจ่าย ยังมีเหตุผลอื่น ๆ หรือไม่ที่จะต้องใช้เงินจากกองทุน
เพราะในปัจจุบันกองทุนหมุนเวียนนั้นยังขาดความโปร่งใส ขาดการประเมินในแง่ประสิทธิผล ติดตามได้ยาก และยังเปิด
ช่องให้เกิดการรั่วไหลของเม็ดเงินได้ง่าย
ประการสุดท้าย ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการ หากผู้จัดท านโยบายเน้นย้ าว่าโครงการบัตร
สวัสดิการแห่งรัฐเจาะจงที่คนจนเท่านั้นเพื่อประสิทธิภาพของการใช้จ่าย ควรต้องมีการเปิดรับลงทะเบียนเป็นประจ า
ตามรอบเวลาที่ก าหนด เพื่อปรับฐานข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ หากต้องการเจาะจงที่คนจนเท่านั้น เกณฑ์ในการ
คัดกรองก็จะต้องรัดกุมและยืดหยุ่นได้ส าหรับความผิดพลาดในการเจาะจง ส าหรับเรื่องประสิทธิผล ก็ควรจะต้องมีการ
จัดท าการประเมินผลกระทบของนโยบายต่อสังคมในมิติต่าง ๆ ทั้งในด้านเป้าหมายการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากว่า
ได้ผลดีเพียงใด รวมไปถึงความโปร่งใสของการใช้จ่ายกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม จะต้อง
มีมาตรการรองรับว่าคนที่มีรายได้หรือทรัพย์สินเกินเกณฑ์ได้รับบัตรแล้ว จะมีการตัดสิทธิหรือมีการสนับสนุนต่อเนื่อง
อย่างไรเพื่อไม่ให้รายได้ตกอยู่ใต้เส้นความยากจนหรือระดับค่าจ้างขั้นต่ าในระยะยาว จะมีวิธีการอย่างไรในการติดตาม
และตัดสินว่าคนเหล่านั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และไม่ต้องพึ่งพิงสวัสดิการจากภาครัฐอีก
(3) ข้อเสนอแนะด้านการเชื่อมโยงโครงการกับการลดความเหลื่อมล ้า
ส าหรับข้อเสนอแนะสุดท้ายนั้นคือการท าให้นโยบายเช่นบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรวมถึงการจัดการระบบสวัสดิการ
ทั้งระบบเอื้อต่อการลดความเหลื่อมล้ า ข้อเสนอนี้จะแบ่งออกเป็นสองส่วนย่อย ในส่วนแรกเป็นการปรับตัวนโยบายบัตร
สวัสดิการแห่งรัฐ และในส่วนที่สองเป็นการจัดวางนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับระบบสวัสดิการในภาพรวม
การจะปรับปรุงนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้เอื้อต่อการลดความเหลื่อมล้ าได้นั้น เริ่มจากการจัดการปัญหา
พื้นฐาน เช่น การสร้างฐานข้อมูลในการเจาะจงที่แม่นย าและได้รับการปรับปรุงต่อเนื่อง และบริหารจัดการการกระจาย
ประโยชน์ให้ถึงตัวคนยากจนได้ ส าหรับการจัดการปัญหาพื้นฐานเช่นการสร้างฐานข้อมูลนั้น ภาครัฐควรเปิดเผยข้อมูลให้
สาธารณะ รวมถึงควรเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบระดับการรั่วไหลในภาพรวมโครงการ เพื่อให้เกิดแรงผลักดันให้การ
เจาะจงของโครงการมีความแม่นย ามากขึ้น
แต่นอกเหนือไปจากการจัดการความท้าทายพื้นฐานข้างต้น สิ่งที่โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐควรพยายาม
ผลักดันเช่นกันคือการขยับขนาดของสวัสดิการ และการปรับเงื่อนไขที่มาพร้อมกับสวัสดิการให้เหมาะกับการลดความ
เหลื่อมล้ า ตัวอย่างของการให้สวัสดิการกับคนยากจนในประเทศอื่น ๆ เช่นประเทศในละตินอเมริกาแสดงให้เห็นว่า
สวัสดิการที่จะสามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนยากจนได้จริงควรจะมีขนาดที่เพียงพอต่อการขยับฐานะ
ครัวเรือนได้ พร้อม ๆ ไปกับการสร้างเงื่อนไขที่กระตุ้นให้เกิดการลงทุนในทุนมนุษย์กับคนรุ่นต่อไป ซึ่งเมื่อน ามา
142