Page 22 - kpiebook62001
P. 22
อินเดีย มีประสบการณ์การใช้นโยบายสวัสดิการและโครงการพัฒนาแบบเจาะจงไปที่คนจนมายาวนาน
ที่สุดในกลุ่มประเทศก าลังพัฒนา ข้อมูลจากปีค.ศ. 2001 และ 2002 พบว่าอินเดียมีสัดส่วนของงบประมาณที่ประเทศ
น ามาใช้กับนโยบายและสวัสดิการในลักษณะนี้สูงถึงกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณภาครัฐ และนับเป็นถึง 3
เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (Srivastava, 2005) ในช่วงทศวรรษ 1990 อินเดียได้เพิ่มสัดส่วนรายจ่ายที่
ไปสู่สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนมากขึ้นถึงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ (Shariff et al., 2002) ด้วยความที่อินเดียเป็นประเทศ
ที่เน้นนโยบายสวัสดิการในลักษณะแบบเจาะจงที่คนจนมาก จึงท าให้เป็นกรณีศึกษาที่เหมาะสม
อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่กลุ่มอาเซียนเช่นเดียวกับไทย และมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ต่างกับไทยมากนัก
ทั้งในด้านของระดับรายได้ต่อหัวและความเหลื่อมล้ า จึงเหมาะจะเป็นคู่เปรียบเทียบกับไทย อินโดนีเซียมีการน า
สวัสดิการแบบเจาะจงไปที่คนจนมาใช้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่นโยบายที่อุดหนุนค่าใช้ข่ายด้านอาหาร สนับสนุนการ
จ้างงาน และสนับสนุนการเข้าถึงบริหารด้านการศึกษาและสาธารณสุขเฉพาะกับคนจน การประมาณการช่วงปี 1998-
1999 พบว่าสัดส่วนของนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนของอินโดนีเซียอยู่ที่ประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ของรายจ่าย
รัฐบาลกลาง (Perdana and Maxwell, 2005)
จีน หันมาเน้นใช้นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนมากขึ้นตั้งแต่กลางทศวรรษ 1980 โดยเน้นการ
แก้ปัญหาความยากจนผ่านโครงการเช่น โครงการอุดหนุนการกู้เงิน โครงการสนับสนุนการจ้างงาน และการกระจาย
งบประมาณไปให้กับพื้นที่ ๆ ยากจนโดยตรง รูปแบบของสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนของจีนมีความหลากหลายและ
สร้างความน่าสนใจต่อการศึกษา สัดส่วนของงบประมาณรัฐบาลกลางของประเทศจีนที่ถูกใช้ไปกับสวัสดิการเพื่อ
แก้ปัญหาความยากจนนั้นนับเป็นประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณทั้งหมด (Wang, 2005)
1.4.4.2 กรณีศึกษาจากต่างประเทศเพื่อศึกษาการออกแบบนโยบายสวัสดิการในภาพรวม
คณะวิจัยแบ่งส่วนกรณีศึกษาออกเป็นการศึกษานโยบายสวัสดิการในภาพรวม เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนกว่าของ
ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของนโยสวัสดิการที่ประเทศต่าง ๆ เน้นน ามาใช้กับความสามารถในการลดความเหลื่อมล้ า
ด้วยเป้าหมายเช่นนี้ คณะวิจัยจึงเลือกกรณีศึกษาหลักจากประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นตัวอย่างของระบบสวัสดิการรูปแบบ
แตกต่างกัน เพื่อให้การเปรียบเทียบจะได้เกิดความใกล้เคียงกัน ทั้งผลการเปรียบเทียบจะไม่ได้เกิดความวุ่นวายจาก
ปัจจัยอื่น ๆ ที่สร้างปัญหาให้ระบบสวัสดิการเช่นที่เกิดในประเทศก าลังพัฒนา กรณีศึกษาที่คณะวิจัยตั้งเป้าหมายเลือก
มานั้นประกอบไปด้วยกรณีหลักคือ สวีเดน ซึ่งเป็นตัวอย่างของรัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ที่เน้นให้
สวัสดิการแบบถ้วนหน้าและยังมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างความเท่าเทียมผ่านระบบสวัสดิการ และ สหราช
อาณาจักร ซึ่งเป็นตัวอย่างของรัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยม เน้นการให้สวัสดิการเฉพาะเจาะจงไปที่กลุ่มคนยากจนเพื่อ
แก้ปัญหาความแปลกแยกในสังคม (social exclusion)
การเปรียบเทียบทั้งสองประเทศนี้เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียและแนวทางการผสมผสานรูปแบบ
สวัสดิการแบบถ้วนหน้าและแบบเจาะจงที่คนจน ซึ่งเป็นโจทย์ที่ส าคัญของการออกแบบระบบสวัสดิการทั่วโลกรวมทั้ง
ของประเทศไทย นอกจากนี้ คณะวิจัยจะพยายามค้นคว้าถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถของระบบสวัสดิการ
13