Page 18 - kpiebook62001
P. 18
(2) ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความสามารถของนโยบายสวัสดิการกับการลดความเหลื่อมล ้า
ไม่ใช่เพียงแต่รูปแบบของนโยบายสวัสดิการเท่านั้นที่ส่งผลส าคัญต่อความเหลื่อมล้ า ปัจจัยอื่น ๆ ที่ประกอบกัน
ไปกับการออกแบบระบบสวัสดิการโดยรวมในแต่ละประเทศก็ส่งผลส าคัญเช่นกัน การศึกษาจ านวนมากเน้นไปที่บทบาท
ของปัจจัยสถาบันที่มาพร้อมกับระบบสวัสดิการว่าแท้จริงแล้วส าคัญกว่าเนื้อหาของตัวนโยบายสวัสดิการเอง
ตัวอย่างเช่น งานศึกษาของ Epsing-Anderson และ Myles (2012) พบว่านัยยะของรูปแบบนโยบายสวัสดิการต่อการ
สนับสนุนทางการเมืองเป็นปัจจัยส าคัญที่ส่งผลต่อความสามารถของนโยบายสวัสดิการในการลดความเหลื่อมล้ า
ประเทศที่เน้นนโยบายแบบเฉพาะเจาะจงไปที่คนจนอาจเกิดปัญหาที่นโยบายเหล่านี้ไม่สามารถได้รับการสนับสนุนจาก
คนกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ใช่คนจนอย่างเพียงพอ ท าให้ไม่อาจลงทุนเพื่อขยายผลของนโยบายไปสู่การลดความเหลื่อมล้ าได้
งานศึกษาของ Korpi and Palme (1998) พบว่าปัจจัยเชิงสถาบันที่อยู่เบื้องหลังการเลือกนโยบายสวัสดิการแบบต่าง ๆ
เช่น แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการที่แพร่หลายอยู่ในประเทศนั้น มีบทบาทส าคัญกับผลของนโยบายสวัสดิการในการ
ลดความเหลื่อมล้ า การที่ประเทศที่ใช้นโยบายสวัสดิการแบบถ้วนหน้ามักจะลดความเหลื่อมล้ าได้ดีกว่านั้นเป็นเพราะ
แนวคิดหลักเบื้องหลังการออกแบบนโยบายมองสวัสดิการของประเทศเหล่านี้เป็นเรื่องของการสร้างสิทธิและให้กับ
พลเมืองอย่างเสมอภาค คณะวิจัยเข้าใจว่าการศึกษาความสามารถของนโยบายสวัสดิการในการลดความเหลื่อมล้ าไม่
อาจละเลยปัจจัยที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ได้ และจะพยายามตั้งข้อสังเกตถึงบทบาทของปัจจัยเหล่านี้จากการส ารวจกรณีศึกษา
(3) การใช้กรณีศึกษาจากต่างประเทศเพื่อศึกษาการออกแบบนโยบายสวัสดิการในภาพรวม
คณะวิจัยจะใช้กรณีศึกษาเพื่อวิเคราะห์แง่มุมต่าง ๆ ที่ได้ระบุไว้ข้างต้น และเพื่อให้การส ารวจกรณีศึกษา
เหมาะสมกับการเปรียบเทียบรูปแบบนโยบายสวัสดิการที่แตกต่างกัน และเพื่อให้เห็นภาพของบทบาทนโยบายสวัสดิการ
ในบริบทที่ประเทศต้องการจะมุ่งไปถึง คณะวิจัยจะจะเลือกประเทศที่เป็นกรณีศึกษาหลักจากประเทศพัฒนาแล้วสอง
กลุ่ม กลุ่มแรกคือประเทศที่เน้นนโยบายสวัสดิการในรูปแบบถ้วนหน้า ซึ่งคณะวิจัยจะเลือกประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย
โดยตั้งเป้าหมายจะเลือกสวีเดนเป็นกรณีศึกษา ในส่วนของประเทศที่เน้นสวัสดิการรูปแบบที่เน้นเจาะจงไปที่คนจน
คณะวิจัยตั้งเป้าหมายจะเลือกสหราชอาณาจักรเป็นกรณีศึกษา
1.4 วิธีการศึกษา
1.4.1 การศึกษาเอกสาร
คณะวิจัยจะใช้วิธีการศึกษาเอกสารซึ่งประกอบด้วยเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ เอกสาร
ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทั้งจากมติคณะรัฐมนตรีในการก าหนดทิศทางและรูปแบบของบัตร
สวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึงเอกสารของส านักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะหน่วยงานจัดท านโยบาย เพื่ออ้างอิงถึง
วัตถุประสงค์ในการจัดท าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นอกจากนั้นยังรวมถึงหนังสือ เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ
9