Page 19 - kpiebook62001
P. 19
ของสวัสดิการในประเทศไทย รวมถึงแง่มุมทางประวัติศาสตร์เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นถึงที่มาของพัฒนาการและการริเริ่ม
นโยบายสวัสดิการส าคัญในแต่ละช่วง และพัฒนาการของนโยบายสวัสดิการที่ให้เฉพาะเจาะจงที่คนจน
ส าหรับส่วนของกรณีศึกษา จะท าการศึกษางานวิชาการที่อธิบายแนวคิด รูปแบบ ปัญหา แนวทางปรับปรุง
นโยบายสวัสดิการที่ให้เฉพาะเจาะจงที่คนจน โดยศึกษาจากประสบการณ์ในระดับสากล เช่น งานศึกษาขององค์กร
พัฒนาระหว่างประเทศอย่างธนาคารโลกและเอดีบี และงานวิชาการที่ศึกษาบทบาทของนโยบายสวัสดิการในภาพรวม
ต่อการแก้ปัญหาความเหลื้อมล้ า
1.4.2 การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ได้รับผลกระทบ
การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าว จะช่วยให้เห็นมิติต่าง ๆ ของการจัดท าโครงการบัตรสวัสดิการ
แห่งรัฐได้ครบถ้วนยิ่งขึ้น คณะวิจัยจะยึดหลักเกณฑ์การเลือกกลุ่มตัวอย่างการสัมภาษณ์ตามหลักของ Miles and
Huberman (1994) และขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ของ Nastasi and Schensul (2005) โดยแบ่งกลุ่มการ
สัมภาษณ์และวิธีการสัมภาษณ์ให้มีความเหมาะสมส าหรับแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้
(1) กลุ่มผู้ก้าหนดนโยบายและนักวิชาการ ใช้เกณฑ์การเลือกตัวอย่างแบบมีเกณฑ์ (criterion sampling)
เจาะจงไปที่กลุ่มผู้ก าหนดนโยบายจากส านักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview)
ด้วยชุดค าถามกึ่งโครงสร้าง (semi-structured questions) เป็นเครื่องมือในการท าความเข้าใจหลักคิด ที่มา และ
วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อเป็นการยืนยันการศึกษาทบทวนวรรณกรรม คณะวิจัยจะท าการสัมภาษณ์ผู้ก าหนด
นโยบายจ านวน 3-5 บุคคล โดยเจาะจงไปที่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัยในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
และมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดสวัสดิการ อาทิ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ ตามหลักเกณฑ์ของการ
สัมภาษณ์เชิงลึก ข้อค าถามเป็นลักษณะการยืนยันความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาและแนวคิดของการจัดสวัสดิการแบบเจาะจง
ที่คนจน ตลอดจนมุมมองต่อการลดความเหลื่อมล้ าด้วยวิธีการจัดสวัสดิการดังกล่าว และรวมถึงปัญหาที่พบระหว่างการ
ปฏิบัติของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการดังกล่าวในฐานะผู้ออกแบบนโยบาย
(2) กลุ่มผู้ด้าเนินนโยบาย ใช้เกณฑ์การเลือกตัวอย่างแบบมีเกณฑ์ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยชุดค าถามกึ่ง
โครงสร้างเช่นเดียวกับกลุ่มผู้ก าหนดนโยบาย เป็นเครื่องมือในการรับฟังความคิดเห็นในการจัดสวัสดิการในฐานะ
นโยบายสาธารณะเพื่อลดความเหลื่อมล้ า โดยคณะวิจัยจะท าการสัมภาษณ์ผู้ด าเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องจ านวน 3-5
บุคคลตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น จากส านักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมบัญชีกลาง ส านักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น ข้อค าถามเป็นลักษณะการสอบถามความคิดเห็นต่อลักษณะการจัด
สวัสดิการ การด าเนินนโยบายในเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ตอบเป้าประสงค์ของการทบทวนข้อสังเกตโครงการ และการ
สอบถามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาโครงการให้สามารถแก้ไขความเหลื่อมล้ าได้
(3) กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ใช้เกณฑ์การแบบสุ่มตามวัตถุประสงค์ (purposeful random sampling) โดย
เลือกกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบให้มีความหลากหลาย เช่น ผู้มีสิทธิได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและไปใช้สิทธิเป็นประจ า ผู้ที่
ไม่ได้รับสิทธิเนื่องจากเงื่อนไขไม่ผ่านเกณฑ์ เจ้าของร้านค้าที่มีการติดตั้งเครื่องรับตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ ใช้การสนทนากลุ่ม
10