Page 20 - kpiebook62001
P. 20

(focus group) ประมาณ 1-3 กลุ่ม ในแต่ละกลุ่มประกอบด้วย 5-10 บุคคลตามหลักเกณฑ์ของการสนทนากลุ่ม ข้อ

               ค าถามเป็นลักษณะการสอบถามความคิดเห็นต่อโครงการในภาพกว้าง รวมถึงปัญหาและข้อสังเกตทั้งในด้านการ
               ด าเนินงานและประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการทบทวนข้อสังเกตของโครงการที่

               ด าเนินงานผ่านมาเป็นหลัก รวมไปถึงความคิดเห็นในแง่มุมของกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบในการพัฒนาให้โครงการสามารถ

               แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ าได้ดียิ่งขึ้น

                   1.4.3 การรับฟังความเห็นงานสัมมนา

                       คณะวิจัยจะด าเนินการรับฟังความเห็นจากงานสัมมนาในสองช่องทาง ช่องทางแรกคือการเข้าร่วมงานสัมมนา

               ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสวัสดิการในประเทศไทย โดยเฉพาะที่จัดโดยหน่วยงานราชการและวิชาการที่เกี่ยวข้อง

               กับนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อรับฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้าร่วม  ในช่องทางที่สอง เมื่อได้คณะวิจัยได้
               ด าเนินการทบทวนเอกสารทั้งในด้านที่มา และการศึกษากรณีเปรียบเทียบจากต่างประเทศ รวมถึงท าการสัมภาษณ์กลุ่ม

               ต่าง ๆ ข้างต้นไปแล้วอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง คณะวิจัยจะประสานความร่วมมือกับคณะเศรษฐศาสตร์

               มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อด าเนินการจัดงานสัมมนาต่อสาธารณะในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัยนี้ เพื่อรับฟัง
               ความคิดเห็นเบื้องต้นจากนักวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปที่สนใจต่อผลการศึกษาและข้อค้นพบเบื้องต้น และ

               จะน าข้อคิดเห็นมาปรับปรุงพัฒนาการศึกษาส่วนที่เหลือ


                   1.4.4 กรณีศึกษา

                        กรณีศึกษาที่คณะวิจัยเลือกมาประกอบงานวิจัยจะแบ่งออกเป็นสองส่วน แบ่งตามที่ได้ระบุไว้ในขอบเขต

               การศึกษา กรณีศึกษาส่วนแรกมุ่งศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงแนวคิด รูปแบบ ปัญหา และแนวทางการปรับปรุง
               นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน ในขณะที่กรณีศึกษาในส่วนที่สองมุ่งเป้าหมายไปที่การสร้างความเข้าใจต่อแนว

               ทางการผสมผสานนโยบายสวัสดิการในภาพรวมที่จะช่วยให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ าได้ส าเร็จ สาเหตุที่ต้องแยก

               กรณีศึกษาออกเป็นสองส่วนก็เพราะเป้าหมายในการศึกษาทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างกัน ดังที่คณะวิจัยจะอธิบาย
               ต่อไป


                       1.4.4.1 กรณีศึกษาจากต่างประเทศเพื่อศึกษานโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน

                       การแบ่งกรณีศึกษาส่วนแรกออกเป็นกรณีศึกษาเฉพาะนโยบายสวัสดิการแบบเฉพาะเจาะจงที่คนจน ก็เพื่อให้ได้

               การวิเคราะห์ที่ตรงกับการพัฒนานโยบายในลักษณะเดียวกันนี้ของประเทศไทย และเพื่อหนุนเสริมไปกับเป้าหมายนี้

               คณะวิจัยจะเลือกกรณีศึกษาจากบริบทที่สามารถน ามาเปรียบเทียบกับประเทศไทยได้สะดวก โดยจะเลือกกรณีศึกษา
               เป็นประเทศก าลังพัฒนาที่ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ต่างจากประเทศไทยมาก คืออยู่ในกลุ่มรายได้ปานกลาง และได้หันมา

               เน้นใช้นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงไปที่คนจนมากขึ้น และมีงานศึกษาเกี่ยวกับนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน

               ในประเทศเหล่านี้เป็นจ านวนมาก ประเทศที่คณะวิจัยพบว่าเข้าข่ายที่จะเป็นกรณีศึกษาที่เหมาะสมได้คือ อินเดีย




                                                               11
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25