Page 17 - kpiebook62001
P. 17

นั้นจะต้องท าเช่นไร และยังมีปัจจัยส าคัญอื่น ๆ ใดที่ส่งผลต่อผลของนโยบายสวัสดิการในภาพรวมต่อการลดความเหลื่อม

               ล้ า

                       (1) นัยยะของรูปแบบสวัสดิการต่อการลดความเหลื่อมล ้า

                       ระบบสวัสดิการในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกแท้จริงแล้วมักจะเกิดจากการผสมผสานนโยบายสวัสดิการในรูปแบบที่

               แตกต่างกัน ประเทศต่าง ๆ อาจเพียงแค่เลือกเน้นนโยบายรูปแบบใดแบบหนึ่งเป็นหลัก รูปแบบของนโยบายสวัสดิการที่

               แตกต่างกันประกอบไปด้วย
                         นโยบายสวัสดิการแบบถ้วนหน้า (universal welfare) นโยบายสวัสดิการในรูปแบบนี้เป็นการให้บริการ

               กับประชาชนทุกคน ส าหรับประเทศพัฒนาแล้ว นโยบายลักษณะนี้มักจะพัฒนาต่อมาจากฐานแนวคิดเรื่องสิทธิและ

               พลเมือง (rights and citizenship) โดยจะมองว่าประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศนั้นควรจะมีสิทธิจะได้รับบริการ
               พื้นฐานใดบ้าง เช่น การรักษาพยาบาลและการศึกษา (Mkandawire, 2005) ตัวอย่างประเทศที่เน้นใช้นโยบายสวัสดิการ

               แบบถ้วนหน้าคือกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย ซึ่งมักจะถูกกล่าวขานในฐานะตัวอย่างของรัฐสวัสดิการที่เน้นความเท่าเทียม

               ส าหรับประเทศก าลังพัฒนา อาจมีการน าเอานโยบายสวัสดิการแบบถ้วนหน้ามาใช้บางส่วน เช่น การใช้นโยบาย
               สวัสดิการรักษาพยาบาลฟรีของประเทศไทย หรืออาจน ามาใช้แค่กับคนบางกลุ่ม เช่น การให้สิทธิด้านสวัสดิการกับกลุ่ม

               ข้าราชการ

                         นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน (poverty targeting) นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงไปที่คนจน
               ถูกให้ความส าคัญมากขึ้นด้วยเพราะข้อวิพากษ์ต่อความสิ้นเปลืองของนโยบายสวัสดิการแบบถ้วนหน้า รวมไปถึงข้อ

               วิพากษ์ที่ว่าการให้สวัสดิการแบบถ้วนหน้านั้นอาจไม่สามารถแก้ปัญหาความเหลือมล้ าได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับการ

               ช่วยเหลือไปที่กลุ่มคนยากจนที่ต้องการสวัสดิการอย่างแท้จริง  นอกจากประเทศก าลังพัฒนาที่มักจะเน้นนโยบายใน
               ลักษณะนี้ ยังมีประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศที่เน้นนโยบายสวัสดิการในรูปแบบนี้เช่นกัน เช่น สหราชอาณาจักร ด้วย

               เพราะได้รับอิทธิพลจากการปรับรูปแบบนโยบายเศรษฐกิจให้ลดบทบาทของรัฐลง

                         นโยบายสวัสดิการแบบอื่น ๆ เช่น นโยบายสวัสดิการที่เน้นสวัสดิการที่ให้กับกลุ่มแรงงาน เพื่อตอบ
               เป้าหมายในการสร้างการจ้างงานรวมไปถึงเพิ่มศักยภาพให้กับแรงงานในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตัวอย่าง

               ประเทศพัฒนาแล้วที่เน้นแนวทางนี้ก็คือ เยอรมนี และ ญี่ปุ่น และนโยบายสวัสดิการในลักษณะที่เน้นการพัฒนา

               กระบวนการผลิต เช่น นโยบายกองทุนที่ส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตรายย่อย
                        คณะวิจัยจะมุ่งศึกษาว่าประเทศที่เน้นรูปแบบสวัสดิการที่แตกต่างกันนั้นมีประสบการณ์ในการลดความเหลื่อม

               ล้ าแตกต่างกันไปอย่างไร โดยเฉพาะการเปรียบเทียบประเทศที่ใช้นโยบายสวัสดิการแบบถ้วนหน้ากับนโยบายสวัสดิการ

               แบบเจาะจงที่คนจน นอกจากนี้จะวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของนโยบายสวัสดิการรูปแบบที่แตกต่างกันในการ
               ลดความเหลื่อมล้ า การศึกษาส่วนนี้ไม่ใช่เพื่อหักล้างกับทิศทางการหันไปใช้นโยบายสวัสดิการแบบเฉพาะเจาะจงของ

               ประเทศไทย แต่เพื่อให้เห็นดุลภาพที่เหมาะสมระหว่างนโยบายสวัสดิการรูปแบบต่าง ๆ ที่ประเทศไทยจะเลือกเป็น

               แนวทางในภาพรวมได้


                                                                8
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22