Page 10 - kpiebook62010
P. 10
3
ผู้กล่าวว่ากฎหมายดังกล่าวคุ้มครองสัตว์เสียจนละเมิดสิทธิของมนุษย์ จนกระทั่งมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าการทำร้าย
สัตว์มีโทษมากกว่าการทำร้ายคนในบางกรณีเสียอีก และความที่เป็นกฎหมายอาญาที่เป็นความผิดต่อแผ่นดินนี้
ทำให้ใครก็สามารถร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีโดยเป็นคดีที่ไม่อาจยอมความกันได้ ประกอบกับการที่เป็น
กฎหมายที่มีโทษสูงกว่าลหุโทษแต่ก็โทษไม่หนักมาก ทำให้ผู้ที่ถูกกฎหมายนี้ใช้บังคับและลงโทษมักจะสารภาพ
รวมถึงไม่อุทธรณ์ฎีกาคดี ทำให้ไม่มีบรรทัดฐานการตีความจากศาลสูงว่า การทารุณกรรมตามกฎหมายนี้
มีความหมายครอบคลุมแค่ไหนเพียงไรด้วย
ด้วยปัญหาในการบังคับใช้ดังกล่าว จึงสมควรมีการศึกษาพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและ
การจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ทั้งในเชิงแนวคิดทฤษฎี และการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายลักษณะ
เดียวกันในต่างประเทศ รวมถึงศึกษาถึงปัญหาในการใช้บังคับของพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการ
ทบทวนหรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายนี้ให้สามารถคุ้มครองสัตว์ได้ตามเจตนารมณ์ แต่ก็คุ้มครองสิทธิของ
ประชาชนได้อย่างเหมาะสมเพียงพอต่อบริบทของสังคมไทย
1.2 วัตถุประสงค์การศึกษา
(1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิของสัตว์
(2) เพื่อศึกษาพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 เปรียบเทียบ
กับกฎหมายคุ้มครองสัตว์ของต่างประเทศ
(3) เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพ
สัตว์ พ.ศ. 2557
(4) เพื่อนำเสนอแนวทางในการตราหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของสัตว์ที่เหมาะสม
และสอดคล้องต่อบริบทของสังคมไทยโดยยังรักษาสาระสำคัญของเจตนารมณ์แห่งกฎหมายในการ
คุ้มครองสิทธิของสัตว์เอาไว้ได้
1.3 ขอบเขตการศึกษา
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ของไทย มาจนถึงเมื่อ
พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มีผลใช้บังคับ พร้อมศึกษาปัญหา
ที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับของพระราชบัญญัตินี้และศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายลักษณะเดียวกันนี้ของ
ต่างประเทศ
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557