Page 14 - kpiebook62010
P. 14
7
แอฟริกา เมื่อสัตว์บางชนิดได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อแล้ว ก็มีการปฏิบัติต่อสัตว์นั้นอย่างดีกว่าสัตว์อื่น เช่น
การให้ความเคารพ ปกปักษ์รักษา หรือละเว้นจากการฆ่าสัตว์ที่เป็นที่เคารพนั้นโดยไม่จำเป็น 3
เมื่อมนุษย์มีศาสนา สัตว์ก็ถูกนำเข้ามามีส่วนร่วมในศาสนาของมนุษย์ด้วย เช่น มีการยกสัตว์บางชนิดที่
ความผูกพันกับคนเช่นปศุสัตว์ต่างๆให้เป็นเทพเจ้า หรือพาหนะของเทพเจ้า และปฏิบัติต่อสัตว์ที่เป็นเทพเจ้าหรือ
เป็นตัวแทนของเทพเจ้านั้นอย่างดี และห้ามการฆ่าโดยไม่จำเป็น เช่น ในศาสนาพราหมณ์ วัวเป็นสัญลักษณ์ของ
ความดีและเป็นสหายของพระศิวะ การฆ่าวัวโดยไตร่ตรองไว้ก่อนถือว่ามีโทษหนักเท่ากับการฆ่าพราหมณ์ซึ่งเป็น
อาชญากรรมที่เลวร้ายที่สุด 4
อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ก็เปลี่ยนไปมาก ตัวอย่างเช่น สัตว์ที่มนุษย์
เคยเคารพนับถือบูชาว่าเป็นเทพเจ้ากลายมาเป็นสัตว์ใช้งาน สัตว์ป่ากลายเป็นสัตว์เลี้ยง สัตว์บางชนิดบางประเภท
มีความสำคัญมากขึ้น ในขณะที่สัตว์บางชนิดบางประเภทนั้นมีความสำคัญลดน้อยลง โดยเฉพาะในปัจจุบัน
ความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์ในหลายๆเรื่องได้สูญหายไป การให้ความสำคัญและความเคารพต่อสัตว์บางชนิดตามความ
เชื่อในอดีตได้ลดน้อยลงตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากการที่มนุษย์มีความเจริญทางความคิดวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีมากขึ้นทำให้ในหลายๆ กรณีสามารถพิสูจน์และอธิบายได้ด้วยหลักเกณฑ์หรือการทดลองทาง
วิทยาศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ในสังคมสมัยใหม่ จึงอยู่ในรูปของการใช้สัตว์เพื่อประโยชน์ของ
มนุษย์ในด้านต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ มีเพียงส่วนน้อยที่ยังมีความสัมพันธ์ในแง่ความเชื่อ ประเพณี หรือศาสนา เช่น
5
เดียวกับคนในสังคมอดีต
ทั้งนี้แนวคิดและความเชื่อของสังคมที่มีต่อสถานะภาพของสัตว์มีผลทำให้เกิดความเชื่อในการกระทำหรือ
การปฏิบัติต่อสัตว์ของคนในสังคมแต่ละยุคแต่ละสมัยที่แตกต่างกันออกไป โดยอาจแบ่งแนวความคิดเกี่ยวกับ
สถานะภาพของสัตว์เพื่อพิจารณากับประโยชน์ของมนุษย์ได้เป็น 3 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดที่ว่า ผลประโยชน์ของ
สัตว์อยู่ภายใต้ผลประโยชน์ของมนุษย์ แนวคิดที่ว่า ผลประโยชน์ของสัตว์มีความเกี่ยวกันพันกับผลประโยชน์ของ
มนุษย์ และแนวคิดที่ว่าผลประโยชน์ของสัตว์แยกจากผลประโยชน์ของมนุษย์แต่ผลประโยชน์ของสัตว์นั้นเท่าเทียม
กับผลประโยชน์ของมนุษย์ ดังนี้
(1) แนวคิดว่า ผลประโยชน์ของสัตว์อยู่ภายใต้ผลประโยชน์ของมนุษย์
เป็นแนวคิดที่มองว่ามนุษย์มีสถานภาพเหนือกว่าสัตว์เพราะมนุษย์นั้นมีศีลธรรม มีเหตุผล มีสติปัญญา
แนวคิดนี้มีมาตั้งแต่สมัยกรีกและโรมันรวมไปถึงความเชื่อในการตีความคัมภีร์ในศาสนายิวและศาสนาคริสต์ โดย
อริสโตเติล (Aristotle) มองว่าในห่วงโซ่ของสิ่งมีชีวิตแล้ว สิ่งมีชีวิตใดที่อยู่ในระดับต่ำกว่าในห่วงโซ่นั้นถูกสร้างขึ้น
เพื่อสิ่งต่างๆที่อยู่ในระดับเหนือกว่า เช่นพืชถูกสร้างมาเพื่อสัตว์ สัตว์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อมนุษย์ ข้าทาสบริวาร
ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเจ้านาย ผู้หญิงถูกสร้างมาเพื่อผู้ชาย และผู้ชายที่อยู่เหนือสุดของระบบนี้เองก็ถูกสร้างขึ้นมา
3 ศรัญญา แจ้งขำ. อ้างแล้ว. หน้า 19-20
4 Yuri Dmitriyev. มนุษย์กับสัตว์ (Man and Animals). ทองสุก เกตุโรจน์ (แปล). อ้างถึงใน ธันวรัตน์ โรจนโรวรรณ.
มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการทารุณสัตว์. (2551) กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า 58
5 เรื่องเดียวกัน. หน้า 59
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557