Page 9 - kpiebook62010
P. 9

2






               1.1 บทนำและสภาพปัญหา



                     ในมุมมองดั้งเดิมของมนุษย์และกฎหมายสัตว์เป็นเพียงทรัพยากรธรรมชาติที่มีชีวิต ใช้ประโยชน์ในฐานะ
               ที่เป็นอาหาร แรงงาน เลี้ยงไว้หรือใช้ดูเพื่อความเพลิดเพลิน หรือวัตถุสำหรับการศึกษาหรือทดลองในเรื่อง

               ที่ไม่อาจกระทำได้ต่อมนุษย์ การป้องกันมิให้สัตว์ถูกทารุณกรรมหรือใช้งานใช้ประโยชน์จากสัตว์จนเกินสมควร
               นั้นเป็นเพียง “เมตตาธรรม” ที่อ้างอิงกับความเชื่อศาสนาหรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละ
               สังคมหรือความรู้สึกต่อสัตว์เฉพาะบุคคลเท่านั้น แต่มิใช่การยอมรับว่าสัตว์เป็นผู้ทรงสิทธิอันได้รับการปกป้อง

               ตามกฎหมาย ในบริบทของกฎหมายไทยการทารุณสัตว์ก่อนหน้านี้ถือเป็นความผิดเล็กน้อยตามประมวล
               กฎหมายอาญา หรือมากกว่านั้นคือสัตว์ที่มีเจ้าของก็ได้รับการคุ้มครองเสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์สินของผู้เป็น

               เจ้าของ ซึ่งจะปกป้องหวงกันได้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิส่วนกฎหมายที่มีไว้เพื่อคุ้มครองสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ
               ก่อนหน้านี้ก็เป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองเฉพาะสัตว์ที่อาจจะสูญพันธุ์หรือเกือบสุญพันธุ์เท่านั้น  ซึ่งกฎหมาย
               ดังกล่าวก็อยู่ในกรอบทัศนะที่มองสัตว์ว่าเป็นทรัพย์สินในรูปแบบหนึ่งอยู่นั่นเอง กล่าวคือเป็น

               “ทรัพยากรธรรมชาติ” หายากที่ต้องรักษาไว้เท่านั้น

                     หากในปัจจุบัน “สัตว์” ถูกพิจารณาด้วยมุมมองทางกฎหมายที่เปลี่ยนไปในราวสี่ทศวรรษจนถึงปัจจุบัน

               เริ่มจากการคุ้มครองสัตว์ที่ถูกใช้ในการทดลองเพื่อไม่ให้ต้องรับทุกขเวทนาเกินสมควร พัฒนามาสู่หลักการทาง
               กฎหมายที่ยอมรับว่าสัตว์มีสิทธิบางประการอยู่ ซึ่งจะคุ้มครองมิให้มนุษย์ไปกระทำการให้สัตว์ต้องได้รับ
               การทุกข์ทรมานเกินสมควร สำหรับประเทศไทย ก็มีการเรียกร้องให้มีกฎหมายคุ้มครองสัตว์เพิ่มเติมขึ้นจาก

               บทลหุโทษในประมวลกฎหมายอาญา มีการใช้เข้าชื่อเสนอกฎหมายคุ้มครองสัตว์โดยประชาชน ควบคู่ไปกับ
               การตรากฎหมายของภาครัฐ ในที่สุด พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์

               พ.ศ. 2557 กฎหมายคุ้มครองสัตว์ที่มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปฉบับแรกของไทยก็ได้รับการตราขึ้นโดย
               สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้มีเจตนารมณ์และเนื้อหาเพื่อคุ้มครองสัตว์มิให้ถูก
               กระทําการทารุณกรรม  และผู้ซึ่งนําสัตว์มาเลี้ยงจะต้องจัดสวัสดิภาพให้เหมาะสมตามประเภทและชนิดของ

               สัตว์ เพื่อให้สัตว์ได้รับการคุ้มครองตามธรรมชาติของสัตว์อย่างเหมาะสม โดยพระราชบัญญัตินี้กำหนดความผิด
               เกี่ยวกับการทารุณกรรมต่อสัตว์ไว้เป็นความผิดทางอาญา ที่มีโทษทางอาญาจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกิน

               สี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และเป็นความผิดต่อแผ่นดินยอมความไม่ได้ ซึ่งกฎหมายนี้มุ่งคุ้มครองทั้งสัตว์
               ที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของ

                     อย่างไรก็ตาม นับแต่การใช้บังคับของพระราชบัญญัตินี้ มีผู้ถูกดำเนินคดีและตัดสินลงโทษตามกฎหมาย

               ดังกล่าวไปแล้วหลายกรณี ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งจากประชาชนทั่วไปและนักวิชาการว่ากฎหมายนี้ถูกใช้และ
               ตีความเกินเลยกว่าเจตนารมณ์เพื่อการคุ้มครองสัตว์ นิยามของการทารุณกรรมต่อสัตว์ที่ตีความได้กว้างขวาง

               จนกลายเป็นว่าการทำร้ายหรือฆ่าสัตว์ในกรณีที่กฎหมายไม่ได้ยกเว้นไว้ ถือเป็นการทารุณกรรมต่อสัตว์ทั้งสิ้น
               รวมถึงไม่มีบทบัญญัติที่คุ้มครองหรือทรัพย์สินของบุคคลผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากสัตว์ รวมถึง
               ไม่มีบทบังคับหรือบทลงโทษทางอาญาที่เพียงพอต่อผู้เป็นเจ้าของที่ปล่อยปละละเลยสัตว์จนก่ออันตรายแก่

               ผู้อื่น ซึ่งความผิดดังกล่าวแม้จะมีแต่ก็ถือเป็นความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น จนกระทั่งมี









                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14