Page 15 - kpiebook62010
P. 15

8






               เพื่อพระเจ้า แนวคิดของอริสโตเติลนี้สัตว์จึงเป็นเหมือนข้าทาสบริวารที่ถูกสร้างมาเพื่อมนุษย์ แนวความคิดนี้ทำให้

               สัตว์ต่างๆ อาจถูกปฏิบัติได้เช่นเดียวกับเป็นทรัพย์สินหรือเครื่องมือในการใช้ประโยชน์ของมนุษย์

                     แนวความคิดนี้นำไปสู่ความเชื่อของนักปรัชญายุคต่อมาจำนวนหนึ่งที่เห็นว่า มนุษย์มีสิทธิเกือบทั้งหมด

               อย่างไม่จำกัดในการกระทำต่อสัตว์โดยอาศัยเหตุผลว่าสัตว์ทั้งหลายมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เช่นแนวคิดของ
               เซนต์ โทมัส อควินัส (Saint Thomas Aquinus) ก็มีมุมมองที่ว่า สิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผลเท่านั้นที่สามารถบอกถึง

               ความแตกต่างระหว่างความถูกและความผิด รู้ว่าพวกเขาควรจะทำอะไร สัตว์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีเหตุผล
               จึงไม่สามารถที่จะมีความสามารถเช่นนั้นได้ แนวคิดนี้ให้เหตุผลว่าสิ่งที่มีความสมบูรณ์น้อยกว่ามีอยู่เพื่อรับใช้สิ่งที่มี
               ความสมบูรณ์มากกว่า และเมื่อเทียมระดับของความสมบูรณ์แล้ว มนุษย์อยู่ในตำแหน่งสูงสุดที่สร้างขึ้นโดยพระเจ้า
               ดังนั้นสิ่งต่างๆในโลกที่สมบูรณ์น้อยกว่าซึ่งรวมถึงสัตว์ด้วยนั้นจึงมีไว้เพื่อรับใช้มนุษย์ ดังนั้นการฆ่าสัตว์จึงไม่บาป

               เพราะสัตว์เหล่านี้มีไว้เพื่อให้มนุษย์ใช้ประโยชน์อยู่แล้วตามลำดับในธรรมชาติ นอกจากนี้เขายังอธิบายว่า หากมี
               ข้อความใดในคัมภีร์ไบเบิลที่ดูเหมือนจะห้ามมนุษย์กระทำทารุณต่อสัตว์หรือห้ามฆ่าสัตว์แล้ว การห้ามเหล่านั้น
               ก็มิได้เป็นไปเพราะว่าเป็นการกระทำผิดต่อสัตว์ แต่ที่ห้ามก็เพื่อดึงเอาความคิดที่จะทารุณต่อเพื่อมนุษย์ออกไปจาก

               จิตใจของคนผู้นั้น กล่าวคือหากมนุษย์ผู้หนึ่งกระทำทารุณต่อสัตว์ทั้งหลาย จะทำให้ในที่สุดแล้วเขาจะไปกระทำ
               ทารุณต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน หรือเพราะการทำร้ายสัตว์จะนำไปสู่ความรู้สึกทุกข์ของมนุษย์นั้นเอง


                     เรเน่ เดคาร์ท (René Descarte) มีแนวคิดว่าเพราะสัตว์ไม่อาจพูดได้ ในมุมมองของเขาสัตว์จึงเป็นเหมือน
               เครื่องจักรเท่านั้น เสียงร้องของสัตว์ที่ถูกทรมานหรือทำร้ายมิได้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความรู้สึกเจ็บปวดมากกว่า
               เสียงของเครื่องสัญญาณเตือนไฟที่จะตอบสนองต่อความร้อน สิ่งๆหนึ่งมิอาจจะรู้สึกเจ็บปวดได้หากสิ่งนั้นไร้สติ

               (consciousness) ที่จะรับรู้ความเจ็บปวด เนื่องจากสัตว์ไม่มีเหตุผล สัตว์จึงไม่มีจิตและไม่มีความสามารถอื่น
               ของจิต สัตว์จึงมิอาจรู้สึกเจ็บปวดได้ ข้อสรุปของเดคาร์ทนั้น แบ่งแยกความเป็นมนุษย์กับสัตว์โดยสิ้นเชิงกล่าวคือ

               สัตว์พูดไม่ได้ สัตว์ไม่มีเหตุผล และไม่มีความรู้สึก การปฏิบัติของมนุษย์ต่อสัตว์จึงไม่จำเป็นต้องมีกติกาทางศัลธรรม
               เข้ามาบงการ


                     แนวคิดเหล่านี้ส่งผลต่อมาจนถึงแนวคิดของนักปรัชญาในสมัยศตวรรษที่ 17 เช่น ซามูเอล พิวเฟนดอฟ
               (Samuel Pufendorf) เห็นว่าสัตว์โดยเนื้อแท้แล้วไม่มีสิทธิ และมนุษย์มีสิทธิอย่างเต็มที่ที่จะฆ่าสัตว์เพื่อประโยชน์
               ของมนุษย์ เดวิด ฮูม (David Hume) เห็นว่าเพราะมนุษย์ไม่มีสังคมกับสัตว์ สัตว์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับ
               ความยุติธรรมเท่าเทียมกับมนุษย์ ความเกี่ยวพันกับสัตว์ไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นสังคม ทำให้คาดคะเนระดับ

               ในเรื่องความเสอภาคเท่าเทียมไม่ได้ มนุษย์ย่อมมีอำนาจบังคับสั่งการกับสัตว์ได้อย่างสมบูรณ์ ในขณะที่สัตว์ต้อง
               เชื่อฟังเหมือนทาส หรือในศตวรรษที่ 19 นักปรัชญาชื่อโจฮันน์ ฟิคเต และเฮนรี่ ไซตวิค (Johan Fichte and

               Henry Sidgwick) ให้ความเห็นว่าสัตว์เป็นของมนุษย์และไม่อยู่ในสถานะที่มีอิสระ เป็นเสมือนทรัพย์สินของมนุษย์
               และเห็นว่าสัตว์บางชนิดที่ถูกมนุษย์นำไปใช้นั้นมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของไม่มีหน้าที่ใดๆ ต่อสัตว์  6






               
      6   ธันวรัตน์ โรจนโรวรรณ. มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการทารุณสัตว์. (2551) กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
               มหาวิทยาลัย หน้า 60-64








                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20