Page 13 - kpiebook62010
P. 13
6
2.1 วิวัฒนาการเกี่ยวกับสถานะของสัตว์ตามความคิดของมนุษย์
ในทางวิทยาศาสตร์ สัตว์หมายถึงสิ่งมีชีวิตยูแคริโอต (Eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและ
โครงสร้างอื่น อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์หลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิด
1
ต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ เนื่องจากเป็นสิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้
ส่วนพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้คำนิยามของคำว่า “สัตว์” ไว้ว่าหมายถึง สิ่งมีชีวิตซึ่งแตกต่าง
ไปจากพรรณไม้ ส่วนมากมีความรู้สึกและเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เอง ความหมายที่ใช้กันเป็นสามัญหมายถึง
สัตว์ที่ไม่ใช่คน
ดังนั้นเมื่อพิจารณาในทางวิทยาศาสตร์แล้ว มนุษย์เราก็ถือเป็นสัตว์อย่างหนึ่งในสปีชีส์ Homo sapiens
แต่ในความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไปแล้วก็เป็นไปตามนิยามของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน คือหมายถึง
สัตว์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์
สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งในระบบนิเวศวิทยา จึงมีความสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ
ในธรรมชาติรวมถึงมนุษย์มาตั้งแต่ยุคบรรพกาล นับตั้งแต่ยุคหินเก่าเมื่อประมาณ 2.5 ล้านปีมาแล้ว โดยสัตว์
มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ในสถานะเริ่มแรกคือถือเป็นอาหารของมนุษย์ โดยมนุษย์รู้จักล่าสัตว์มาเพื่อเป็นอาหาร
ตั้งแต่ในยุคหินเก่า โดยในระยะนั้นมนุษย์ล่าสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น หมี ช้าง แรด ม้า หรือวัวป่า มาเพื่อเป็นอาหาร
เนื่องจากให้เนื้อที่มีปริมาณมากกว่าสัตว์ขนาดเล็ก จนกระทั่งเมื่อเข้าสู่ยุคหินกลางและยุคหินใหม่ มนุษย์เริ่มรู้จัก
เลี้ยงสัตว์และใช้ประโยชน์อื่น ๆ จากสัตว์ ได้แก่การนำสัตว์มาเลี้ยงไว้เพื่อกินเนื้อหรือรีดนมไว้เป็นอาหาร
เอากระดูกมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือหรือเครื่องประดับ ใช้หนังมานุ่งห่มหรือสร้างเป็นกระโจมที่พัก และต่อมา
ก็มีการนำสัตว์มาใช้เป็นแรงงานหรือพาหนะ รวมถึงใช้ในการศึกสงคราม นอกจากนี้ สัตว์บางชนิดยังถูกนำมาใช้เป็น
ยารักษาโรค ตลอดจนมีการเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อใช้ประโยชน์เช่นในการเฝ้ายาม
2
จึงอาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ของมนุษย์และสัตว์ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นลักษณะของการที่
มนุษย์ใช้ประโยชน์จากสัตว์ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานการดำรงชีวิตของมนุษย์ในด้านต่างๆ เป็นสำคัญ
เนื่องจากความสัมพันธ์เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับมนุษย์นี้เอง ทำให้สัตว์เข้ามามีส่วนในวัฒนธรรมประเพณีของ
มนุษย์ในด้านความเชื่อ เคล็ดลาง หรือเพื่อใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในสมัยที่มนุษย์ไม่สามารถ
อธิบายได้ในทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์ในเชิงศาสนา เช่นในบางวัฒนธรรมมีความเชื่อว่าสัตว์
เป็นผู้สร้างโลก เช่นนิทานปรัมปราของชาวพื้นเมืองในออสเตรเลียเชื่อว่าโลกถูกสร้างขึ้นมาจากการต่อสู้กันของ
นกสองพี่น้อง หรือเชื่อว่ามนุษย์สืบเชื้อสายมาจากสัตว์ เช่นความเชื่อของชาวอินเดียนแดง หรือบางชนเผ่าในทวีป
1 สัตว์. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2560, สืบค้นจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/
%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C
2 ศรัญญา แจ้งขำ. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์. (2557) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ หน้า 18-19
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557