Page 11 - kpiebook62010
P. 11
4
1.4 คำถามการวิจัย
(1) สิทธิของสัตว์มีอยู่จริงหรือไม่ อยู่บนพื้นฐานของแนวคิดทฤษฎีหรือปรัชญาใด เมื่อเปรียบเทียบกับ
สิทธิและเสรีภาพของมนุษย์
(2) สิทธิของสัตว์และมุมมองต่อสัตว์ตามกฎหมายไทยเป็นอย่างไร ทั้งก่อนและหลังจากที่พระราชบัญญัติ
ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มีผลใช้บังคับ และพระราชบัญญัติ
ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงมุมมองเกี่ยวกับสัตว์ทั้งในทางกฎหมายและในทางสังคมของไทยอย่างไร
(3) พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 สามารถช่วยคุ้มครอง
สัตว์จากการทารุณกรรมได้หรือไม่ เพียงไร และมีปัญหาในการใช้บังคับอย่างไร
1.5 วิธีการดำเนินการศึกษา
เป็นการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary Research) โดยจะทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ
สิทธิของสัตว์และกฎหมายคุ้มครองสัตว์ในประเทศไทยทั้งจากบทความ หนังสือ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์
และค้นคว้าข้อมูลจากเวบไซต์โดยนำข้อมูลที่รวบรวมมาวิเคราะห์ และศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายเกี่ยวกับ
สิทธิของสัตว์และกฎหมายคุ้มครองสัตว์ในต่างประเทศ ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth
Interview) เพื่อสรุปความเห็นให้ปรากฏในรูปแบบพรรณนา (Descriptive research) และวิเคราะห์
(Analytical research) เพื่อนำเสนอเป็นข้อสรุปผลการศึกษาและนำเสนอในส่วนข้อเสนอแนะต่อไป
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(1) ได้ทราบถึงแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิหรือสวัสดิภาพสัตว์
(2) ได้เปรียบเทียบเนื้อหาของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์
พ.ศ. 2557 กับกฎหมายในลักษณะเดียวกันของต่างประเทศ
(3) ได้ทราบถึงปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพ
สัตว์ พ.ศ. 2557
(4) ได้แนวทางในการตราหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของสัตว์ที่เหมาะสมและ
สอดคล้องต่อบริบทของสังคมไทยโดยยังรักษาสาระสำคัญในการคุ้มครองสิทธิของสัตว์เอาไว้ได้
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557