Page 122 - kpiebook62010
P. 122
115
อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนสัตว์นั้นอาจจะไม่จำเป็นต้องกระทำกับสัตว์ทุกชนิด โดยกำหนด
เฉพาะสัตว์บางประเภทตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดก็ได้ ในระยะแรกอาจจะให้ต้องจดทะเบียนเฉพาะสัตว์เลี้ยง
ในครัวเรือน เช่น สุนัขและแมว ก่อนก็ได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ในเบื้องต้นจึงเสนอให้เพิ่ม มาตรา 21/1 ดังนี้
“มาตรา 21/1 เพื่อประโยชน์ในการบังคับใช้กฎหมายในหมวดนี้ รัฐมนตรีอำนาจกำหนดให้เจ้าของสัตว์
ผู้เลี้ยงสัตว์หรือผู้ครอบครองสัตว์บางชนิดต้องจดทะเบียนสัตว์ของตนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรี
ประกาศกำหนด
การออกประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงประเภท ชนิด ลักษณะ สภาพ และอายุของสัตว์”
6.2.5 ข้อเสนอเกี่ยวกับเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ช่วยพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามที่ได้ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายไว้แล้ว
ในหัวข้อ 5.2.5 ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของ
กรมปศุสัตว์นั้นมีภาระงานมากเกินไปในการต้องดูแลสัตว์ทุกชนิดที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงมี
ข้อเสนอว่า สมควรที่จะให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายฉบับนี้ด้วย รวมถึงการมีผู้ช่วย
พนักงานเจ้าหน้าที่ ที่เป็นบุคคลที่ทำงานในองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองหรือป้องกันการทารุณกรรม
สัตว์ และได้รับการอบรมหรือผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนดไว้ สามารถเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานซึ่งมี
อำนาจหน้าที่บางประการตามกฎหมายนี้ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์
ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายปัจจุบัน
ในเบื้องต้นจึงเสนอให้เพิ่มเติมนิยามของคำว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่” ในมาตรา 3 ดังนี้
“มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
...
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้
หมายความรวมถึงข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ
และให้เพิ่มมาตรา 30/1 เกี่ยวกับการให้มีผู้ช่วยพนักงานเจ้าหน้าที่ และมีอำนาจบางประการตาม
กฎหมายนี้ ตามมาตรา 30/2 ดังนี้
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557