Page 53 - kpiebook62010
P. 53

46






                     
   
   3.3.2.4  การจัดสวัสดิภาพสัตว์


                                   ในหมวดว่าด้วยการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์นั้น มาตรา 9 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของมนุษย์
               ในการที่จะรับผิดชอบในการจัดสวัสดิภาพให้สัตว์ของตน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสัตว์ ที่บัญญัติไว้ใน

               มาตรา 9 (2) ว่าได้แก่ (a) การได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม (b) การได้รับอาหารที่เหมาะสม (c) ความสามารถ
               ที่จะมีพฤติกรรมแสดงออกได้ตามลักษณะของสายพันธุ์ (d) การมีที่อยู่อาศัย หรือการได้อยู่ร่วมกับสัตว์อื่นๆ และ

               (e) ได้รับการปกป้องดูแลไม่ให้ได้รับความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน อาการบาดเจ็บหรือเป็นโรค โดยพิจารณาถึง
               วัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมายของการเลี้ยงสัตว์หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสัตว์นั้น อย่างไรก็ตาม บทบัญญัตินี้
               ไม่ใช้บังคับกับการทำลายสัตว์โดยวิธีการอันมีมนุษยธรรม โดยมาตรา 10 ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถ
               มีคำเตือนไปยังเจ้าของหรือผู้ดูแลสัตว์ที่ไม่จัดสวัสดิภาพสัตว์ให้ถูกต้องตามกฎหมายนี้ได้โดยยังไม่ถือว่าผู้นั้นกระทำ

               ความผิด โดยคำเตือนนั้นจะต้องระบุรายละเอียดต่างๆ ที่บุคคลนั้นจะต้องดำเนินการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้ถูกต้อง
               ตามกฎหมาย พร้อมกับกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินการดังกล่าว และแจ้งโทษหากไม่ดำเนินการ
               แก้ไขตามคำเตือน นอกจากนี้ มาตรา 11 ยังกำหนดห้ามมิให้บุคคลขายหรือให้สัตว์เป็นรางวัลแก่บุคคลที่มีอายุ

               ต่ำกว่า 16 ปีด้วย เว้นแต่เป็นการมอบให้กันภายในครอบครัว


                                   ในส่วนสุดท้าย มาตรา 12 ยังให้อำนาจหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสามารถที่จะออก
               หลักเกณฑ์ใดๆ เพื่อการส่งเสริมการจัดสวัสดิภาพสัตว์ที่เหมาะสมแก่สัตว์แต่ละสายพันธุ์ได้ด้วย


                     
       3.3.2.5  สภาพบังคับตามกฎหมาย

                                   พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดโทษบังคับทางอาญาไว้ในมาตรา 32 สำหรับผู้กระทำ

               ความผิดฐานกระทำการทารุณกรรมต่อสัตว์ที่กำหนดในมาตรา 4 ถึง มาตรา 8 ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 51 สัปดาห์
               หรือปรับไม่เกิน 20,000 ปอนด์ หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ที่กระทำผิดเกี่ยวกับเรื่องการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ฝ่าฝืน
               กฎหมายที่เกี่ยวกับใบอนุญาต หรือฝ่าฝืนข้อจำกัดสิทธิที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 51 สัปดาห์ หรือ

               ปรับไม่เกินระดับ 5 ของอัตราค่าปรับมาตรฐาน ส่วนผู้ที่กระทำความผิดตามระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่ออกตาม
               มาตรา 12 หรือ 13 ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนั้นๆ ส่วนผู้กระทำความผิดอื่นๆตามบทบัญญัตินี้มีโทษ
               จำคุกไม่เกิน 51 สัปดาห์ หรือปรับไม่เกินระดับ 4 ของอัตราค่าปรับมาตรฐาน


                                   ส่วนมาตรา 33 ก็ให้อำนาจศาลในการสั่งให้ริบสัตว์ที่มีการกระทำความผิดฐานทารุณ
               กรรมต่อสัตว์ หรือสัตว์ที่ได้ครอบครองไว้ในกรณีที่ถูกจำกัดสิทธิที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ ซึ่งการนี้รวมถึงลูกของสัตว์นั้น

               ด้วย โดยศาลจะกำหนดบุคคลที่จะมอบหมายให้ดูแลสัตว์นั้นแทนรวมถึงวิธีการต่างๆเพื่อการดังกล่าว โดยให้
               ผู้กระทำความผิดรับผิดชอบค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ในกรณีที่เป็นการริบสัตว์ที่เป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับการนำ
               สัตว์มาต่อสู้กัน ศาลอาจสั่งให้ริบและทำลายสัตว์นั้นด้วยก็ได้


                                   นอกจากนั้น มาตรา 34 ยังกำหนดให้ศาลอาจจะสั่งกำจัดสิทธิของบุคคลผู้กระทำความ
               ผิดฐานกระทำทารุณกรรมต่อสัตว์ การไม่จัดสวัสดิภาพสัตว์ หรือการฝ่าฝืนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับใบอนุญาต ในอันที่

               จะที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ภายในระยะเวลาที่กำหนด ได้แก่ จำกัดสิทธิในการเป็นเจ้าของสัตว์ สิทธิในการดูแลสัตว์ สิทธิ









                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58