Page 55 - kpiebook62010
P. 55

48






                                   หมวด 5 ว่าด้วยการนำสัตว์มาแสดง กล่าวถึงหลักการในการนำสัตว์มาแสดงหรือการ

               ฝึกสัตว์เพื่อการดังกล่าว ซึ่งกำหนดว่าผู้ที่จะนำสัตว์มาแสดงหรือฝึกสัตว์ได้นั้นจะต้องลงทะเบียนกับทางภาครัฐ
               เสียก่อน และให้อำนาจศาลในการห้ามการแสดงหรือฝึกสัตว์ที่ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานโดยไม่จำเป็น
               การกระทำที่ต้องห้ามเกี่ยวกับการแสดงหรือฝึกสัตว์ และข้อยกเว้น


                                   หมวด 6 บทเบ็ดเตล็ด กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆเพื่อใช้บังคับกฎหมายเช่น ข้อยกเว้น

               ในการฆ่าสัตว์ตามหลักศาสนา อำนาจของศาลในการจำกัดสิทธิความเป็นเจ้าของสัตว์ บทสันนิษฐานความผิด
               ข้อกำหนดความรับผิด อำนาจในการตรวจค้นและจับกุม การดูแลสัตว์ที่มีการกระทำความผิดตามกฎหมายนี้
               อายุความ การมอบอำนาจให้หน่วยงานท้องถิ่น การออกกฎ ข้อยกเว้นในการใช้กฎหมาย และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง


                     
   
   3.3.4.2  สัตว์ที่กฎหมายคุ้มครอง


                                   นิยามของสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของอินเดียนี้ บัญญัติไว้ในมาตรา 2 (a)
               ว่าได้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวงที่มีชีวิต (any living creature) ที่มิใช่มนุษย์


                     
   
   3.3.4.3  การกระทำที่ถือเป็นการทารุณกรรมสัตว์และข้อยกเว้น

                     
             การทารุณกรรมสัตว์ตามกฎหมายของอินเดีย บัญญัติไว้ในหมวด 3 มาตรา 11 ว่า ผู้ใด ...


                                   (a) ตี เตะ ขึ้นขี่หรือให้สัตว์บรรทุกของเกินกว่ากำลัง ทรมานหรือกระทำการใดต่อสัตว์

               ให้ได้รับบาดเจ็บหรือทรมานโดยไม่จำเป็น หรือเจ้าของผู้ใดยินยอมให้สัตว์ถูกกระทำเช่นนั้น

                                   (b) ใช้งานสัตว์เกินกำลัง อันเนื่องมาจากอายุหรือสัตว์นั้นเจ็บป่วย มีความไม่สมบูรณ์

               มีบาดแผลซึ่งไม่เหมาะสมที่จะถูกใช้งานเช่นนั้น หรือเจ้าของที่ยินยอมให้ใช้งานสัตว์ของตนเช่นนั้น

                                   (c) เจตนาใช้ยาหรือสารเคมีต่อสัตว์ต่อสัตว์โดยไม่จำเป็นหรือให้สัตว์ได้รับยาหรือสารนั้น


                                   (d) บรรทุกหรือขนส่งสัตว์ด้วยยานพาหนะที่ทำให้สัตว์นั้นอยู่ในสภานะที่ได้รับบาดเจ็บ
               หรือบาดแผลโดยไม่จำเป็น


                                   (e) กักขังสัตว์ไว้ในกรงหรือที่ควบคุมที่ไม่เหมาะสมและหรือเพียงพอ ไม่ว่าจะด้วย
               ความสูง ความยาว หรืออากาศหายใจสำหรับสัตว์ จนสัตว์ไม่อาจเคลื่อนไหวได้ตามสมควร


                                   (f) ล่ามสัตว์ไว้ด้วยระยะเวลานานเกินควร


                                   (g) เจ้าของสุนัขที่ไม่ให้โอกาสสุนัขของตนได้รับการออกกำลังที่เพียงพอตามธรรมชาติ
               ของมัน ด้วยการล่ามโซ่หรือกักขังไว้


                                   (h) เจ้าของสัตว์ที่ไม่จัดหาอาหาร น้ำดื่ม หรือที่พักอันเพียงพอสำหรับสัตว์ของตน











                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60