Page 57 - kpiebook62010
P. 57

50






                     
       3.3.4.4  การจัดสวัสดิภาพสัตว์


                                   เนื่องจากกฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการทารุณกรรมต่อสัตว์
               เป็นหลัก ดังนั้นเรื่องการจัดสวัสดิภาพสัตว์จึงถูกกำหนดให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามหมวด 3 ของ

               กฎหมายนี้ โดยคณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการจัดสวัสดิภาพสัตว์ต่อหน่วยงาน
               ต่างๆของรัฐ รวมถึงในเรื่องของกฎเกณฑ์เกี่ยวกับโรงฆ่าสัตว์หรือการสัตว์แพทย์ การให้ความรู้แก่ประชาชนในการ

               ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการดูแลสัตว์อย่างมีมนุษยธรรม เป็นต้น

                     
       3.3.4.5  สภาพบังคับตามกฎหมาย


                                   การทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา 11 นั้นเป็นความผิดทางอาญา ต้องโทษปรับไม่น้อยกว่า
               สิบรูปีถึงห้าสิบรูปีในความผิดครั้งแรก อย่างไรก็ตาม หากมีการกระทำความผิดซ้ำที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาสามปี

               นับจากความผิดครั้งก่อนหน้า ค่าปรับในคราวหลังนี้ต้องไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้ารูปีหรือไม่เกินหนึ่งร้อยรูปี หรือมีโทษ
               จำคุกไม่เกินสามเดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ


                                   ส่วนการกระทำทารุณกรรมต่อสัตว์ตามมาตรา 12 คือการกระทำ Phooka หรือ
               Doom dev นั้น มีโทษหนักกว่า คือมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันรูปี หรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และ
               ให้ริบสัตว์ที่ถูกกระทำดังกล่าว


                                   นอกจากนี้ มาตรา 13 ยังให้อำนาจศาลในการพิจารณาว่า หากสัตว์ที่ถูกกระทำ
               การทารุณกรรมตามมาตรา 11 นั้นจะใช้ชีวิตอยู่ต่อไปอย่างทุกข์ทรมาน ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ทำลายสัตว์นั้นได้

               โดยศาลจะมอบหมายให้บุคคลใดมีหน้าที่รับสัตว์นั้นไปฆ่าหรือทำลายโดยเร็วที่สุด ด้วยวิธีการที่เหมาะสมและ
               ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานโดยไม่จำเป็นแก่สัตว์นั้น โดยการทำลายสัตว์ตามคำสั่งศาลนี้ศาลอาจกำหนดให้เรียก
               ค่าใช้จ่ายในการทำลายสัตว์จากเจ้าของสัตว์เสมือนเป็นค่าปรับก็ได้ อย่างไรก็ตาม เจ้าของสัตว์อาจจะไม่ต้องรับผิด

               ในส่วนนี้ก็ได้ หากพิสูจน์ได้ว่าในพื้นที่นั้นไม่มีสัตว์แพทย์ประจำการอยู่ อำนาจในการทำลายสัตว์นี้ยังเป็นของ
               ผู้พิพากษา ตำรวจระดับผู้บัญชาการ หรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ที่เชื่อว่ามีการกระทำผิดตามมาตรา 11 และหากปล่อย
               ให้สัตว์นั้นมีชีวิตอยู่ต่อไปจะเป็นการทารุณโหดร้ายกว่า ก็ชอบที่จะสั่งให้ฆ่าหรือทำลายสัตว์นั้นเสียโดยพลันก็ได้


                                   นอกจากนี้ มาตรา 13 วรรคสาม ยังให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือบุคคลผู้ได้รับ
               มอบหมายจากรัฐนั้นพบว่ามีสัตว์ติดเชื้อได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง หรือมีสภาพทางร่างกายที่ไม่อาจเยียวยาได้

               โดยปราศจากความทุกข์ทรมาน โดยที่ไม่พบตัวเจ้าของสัตว์นั้นหรือเจ้าของสัตว์ปฏิเสธที่จะทำลายสัตว์นั้น
               เจ้าหน้าที่อาจเรียกสัตว์แพทย์ที่ประจำการอยู่ในท้องที่ที่พบสัตว์นั้นมาตรวจและให้ความเห็นได้ว่า สัตว์นั้นได้รับ
               บาดเจ็บถึงแก่ชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัส หรือมีสภาพร่างกายที่มีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างทุกข์ทรมานแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจ

               อาจจะขอคำสั่งศาลเพื่อให้ฆ่าทำลายสัตว์นั้นก็ได้ การตัดสินของฝ่ายปกครองในกรณีนี้ไม่อาจอุทธรณ์ได้
















                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62