Page 54 - kpiebook62010
P. 54
47
ในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการดูแลสัตว์ สิทธิในการที่บุคคลนั้นจะเข้าไปมีส่วนในการกำหนดวิธีการในการเลี้ยงหรือ
ดูแลสัตว์ สิทธิในการที่บุคคลจะยุ่งเกี่ยวกับสัตว์ หรือจำกัดไม่ให้บุคคลนั้นขนส่งหรือการจัดการที่เกี่ยวข้องกับ
การขนส่งสัตว์ โดยการจำกัดสิทธิที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ตามมาตรานี้ อาจจะหมายถึงการจำกัดสิทธิต่อสัตว์ทุกชนิด
หรือต่อสัตว์บางชนิดก็ได้
ทั้งนี้ ศาลอาจจะสั่งให้ฆ่าสัตว์ที่ถูกกระทำทารุณกรรมหรือความผิดที่เกี่ยวกับการจัด
สวัสดิภาพสัตว์ก็ได้หากมีหลักฐานที่ได้รับการรับรองทางการแพทย์แล้วว่าการดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อ
สัตว์นั้น แต่หากเป็นกรณีการกระทำความผิดเพราะนำสัตว์มาต่อสู้กันแล้ว ศาลอาจสั่งให้ฆ่าสัตว์นั้นด้วยเหตุอื่น
นอกเหนือจากประโยชน์ของสัตว์นั้นก็ได้ ตามมาตรา 37 และมาตรา 38 โดยจะต้องเปิดโอกาสให้เจ้าของสัตว์นั้น
ได้ชี้แจง หรือได้แจ้งต่อเจ้าของสัตว์นั้นโดยชอบแล้ว โดยหากศาลมีคำสั่งให้ฆ่าสัตว์ ศาลจะมอบหมายให้บุคคลใด
บุคคลหนึ่งดำเนินการตามคำสั่งนั้น โดยกำหนดวิธีการตามความเหมาะสม และเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้กระทำ
ความผิด นอกจากนี้ในกรณีของความผิดฐานนำสัตว์มาต่อสู้กัน ศาลอาจสั่งให้ผู้กระทำความผิดต้องชดใช้ค่าใช้จ่าย
ในการจัดการของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดูแลสัตว์นั้นไว้ด้วย ตามมาตรา 39 ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำ
ความผิดเกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์ ให้ศาลริบและทำลายเสีย ตามมาตรา 40
3.3.4 กฎหมายคุ้มครองสัตว์ของประเทศอินเดีย
3.3.4.1 ภาพรวมของกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอินเดียกำหนดหน้าที่พื้นฐานของพลเมืองอินเดียไว้ในมาตรา
51A(g) ที่กำหนดให้พลเมืองอินเดียทุกคนนั้น จะต้องปกป้องคุ้มครองและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งรวมถึง
ป่าไม้ ทะเลสาบ แม่น้ำ สัตว์ป่า และรวมถึงสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย
กฎหมายคุ้มครองสัตว์ของอินเดียในระดับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ได้แก่ รัฐบัญญัติ
ป้องกันการกระทำทารุณกรรมต่อสัตว์ ค.ศ. 1960 (The Prevention of Cruelty to Animals Act, 1960)
ประกอบด้วยมาตราต่างๆ 41 มาตรา แบ่งออกเป็น 6 หมวด ดังนี้
หมวดแรก บัญญัติถึงชื่อกฎหมาย ขอบเขตการบังคับใช้ นิยามศัพท์ และหลักการทั่วไป
เกี่ยวกับหน้าที่ของมนุษย์ต่อสัตว์
หมวด 2 ว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิภาพสัตว์แห่งอินเดีย
หมวด 3 ว่าด้วยการทารุณกรรมสัตว์ กล่าวถึงขอบเขตของการกระทำทารุณกรรมต่อ
สัตว์ และข้อยกเว้นในการทำลายสัตว์ที่ได้รับความทุกข์ทรมาน
หมวด 4 ว่าด้วยการทดลองในสัตว์ กล่าวถึงหลักการทั่วไปของการทดลองในสัตว์ และ
การจัดตั้งอนุกรรมการว่าด้วยการทดลองในสัตว์ที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบและการห้ามการทดลองในสัตว์ รวมถึง
กำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนคำสั่งกฎเกณฑ์ที่อนุกรรมการวางไว้
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557